วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

การสร้างบทสรุปและการพิสูจน์บทสรุป

          สุภางค์ จันทวานิช  (2549 : 50-51) กล่าวว่า การสร้างบทสรุปและการพิสูจน์บทสรุป อันได้มาจากข้อสรุปชั่วคราวที่ถูกตรวจสอบและยืนยันแล้วตลอดได้มีการตัดทอนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปแล้ว หน้าที่ของผู้วิจัยจึงได้แก่ การนำข้อสรุปย่อย ๆ เหล่านั้นมาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้เป็นบทสรุปซึ่งจะตอบปัญหาของการวิจัย การโยงความสัมพันธ์ของข้อสรุปย่อย ๆ เข้าด้วยกันจะต้องทำอย่างเป็นระบบจึงจะได้บทสรุปที่ดี ความสำเร็จของการสร้างบทสรุปขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของข้อมูลที่เป็นข้อสรุปย่อยประกอบกับความเป็นสหวิทยาการในตัวผู้วิจัย ประการแรก หมายถึงว่า ถ้ามีข้อมูลเดิมดี โอกาสที่จะได้บทสรุปที่ดีก็มีมาก ประการที่สอง หมายถึงว่า ถ้าผู้วิจัยมีความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ได้ดี ก็ทำให้บทสรุปมีความน่าสนใจ เมื่อได้สร้างบทสรุปที่ตอบปัญหาการวิจัยแล้ว ต้องพิสูจน์ว่าบทสรุปนั้นเป็นการสรุปที่ดีที่สุด จึงนำไปเขียนรายงานการวิจัยต่อไป
 
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

ไม่มีความคิดเห็น: