วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การวิจัยประวัติศาสตร์

         รัตนะ บัวสนธ์ (2551 : 87) กล่าวว่า การวิจัยประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์และจบลงแล้วในอดีตโดยสมบูรณ์ นักวิจัยต้องการศึกษาเหตุการณ์ในอดีตเพื่อที่จะทำความเข้าใจและอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าว โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมหรือบริบทในช่วงของเหตุการณ์นั้น ๆ และนำบริบทเหล่านี้มาใช้เพื่อการตีความปรากฏการณ์หรือตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์นั้น แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาก็คือสิ่งซึ่งจะเป็นร่องรอยของเรื่องราวที่จะนำมาปะติดปะต่อเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความเข้าใจเห็นภาพของเหตุการณ์ในช่วงนั้น ๆ อย่างชัดเจนให้มากที่สุด ดังนั้นที่มาของข้อมูลจึงมีอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่บันทึกเรื่องราวในช่วงดังกล่าว บุคคลร่วมสมัยที่ยังมีชีวติอยู่หรือแม้จะไม่ร่วมสมัยแต่ก็ได้รับการบอกเล่าสืบทอดเรื่องราวนั้น ๆ ซากสิ่งของวัตถุต่าง ๆ เป็นต้น

รัตนะ บัวสนธ์. ปรัชญาวิจัย. (2551). พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น: