วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายของ ฮีต

         สำลี รักสุทธี  (2544 : 9-10) กล่าวถึง คำว่า ฮีต เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึง จารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งฮีตนี้จะต้องปฏิบัติเหมือนกันตั้งแต่ประชาชนธรรมดาจนถึงเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เมื่อถึงคราว วาระ และเดือนที่จะต้องประกอบพิธีกรรมตามฮีตแต่ละแห่ง แต่ละชุมชนจะต้องปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งมีทั้งหมด 12 ฮีตด้วยกัน ส่วนคำว่า คลอง ซึ่งชาวอีสานจะออกเป็น คอง จะเป็นเหมือนบทบังคับให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับใด คลอง จะมีความเข้มงวดมากกว่า ฮีต เพราะคลองเปรียบเหมือนกฎหมายที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติและละเว้นก็จะถูกสังคมลงโทษตามฐานะแห่งความผิดนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ชาวอีสานจึงมีความเป็นอยู่ที่สงบร่มเย็นมาโดยตลอด เพราะต่างยึดมั่นในฮีตสิบสองคลองสิบสี่นั่นเอง

สำลี รักสุทธี. (2544). ฮีตสิบสองคองสิบสี่ประเพณีของดีอีสาน.
กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

ไม่มีความคิดเห็น: