วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น จุดเปลี่ยนการพัฒนา




           สินธุ์ สโรบล (2548 : 32-41) ได้กล่าวถึงความหมายของกระบวนทัศน์ว่ามนุษย์จะอยู่รอดได้ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่เพื่อให้พ้นไปจากสภาพวิกฤตที่เป็นอยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการจินตนาการใหม่ มีสำนึกใหม่รวมทั้งเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม นั่นคือมนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และแนวคิดจึงจะอยู่รอด Thomas Kuhn ได้ฉายภาพเรื่องกระบวนทัศน์ไว้ในหนังสือ The Structure of Scientific Revolution ว่า กระบวนทัศน์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างสูงต่อความคิดของมนุษย์ เพราะกระบวนทัศน์เป็นวิถีและการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ และวิธีการทั้งทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ กระบวนทัศน์ใหม่หรือการเปลี่ยนย้ายกระบวนทัศน์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อความคิด ความเชื่อ วิธีวิทยาของศาสตร์ต่าง ๆ ในช่วง ค.. 1970 เป็นต้นมา


สินธุ์ สโรบล. (2548). “กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น จุดเปลี่ยนการพัฒนา.”
           กระบวนทัศน์วิจัยเพื่อท้องถิ่น จุดเปลี่ยนการพัฒนา.  เชียงใหม่ : สำนัก
           กองทุนสนับสนุนการวิจัย.



ไม่มีความคิดเห็น: