วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ข้อสอบและเฉลย นักธรรมชั้นตรี พ.ศ.๒๕๕๒



คำปราศรัยแม่กองธรรมสนามหลวง

วันเปิดสอบธรรมสนามหลวง

พุทธศักราช ๒๕๕๒

๒๘ กันยายน ๒๕๕๒



ท่านผู้เป็นประธาน  กรรมการ  และนักเรียนผู้สอบธรรมสนามหลวงทั้งหลาย

                 วันนี้ เป็นวันเปิดสอบธรรมสนามหลวงนักธรรมชั้นตรี ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๒  โอกาสนี้ขอปรารภกับท่านทั้งหลายตามสมควร

     การสอบธรรมสนามหลวงปัจจุบันแบ่งการสอบเป็น ๒ สมัย วันนี้เป็นวันสอบนักธรรมชั้นตรีสมัยที่ ๑ พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร

     ท่านทั้งหลายได้ชื่อว่านวกะคือผู้บวชใหม่ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรม คำสอนทางพระพุทธศาสนา การที่จะมีความรู้ได้นั้นต้องศึกษา    เล่าเรียนหลักสูตรพระปริยัติธรรม รียกว่า หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี อันเป็น     พื้นฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ทั้งเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในอนาคต

             การศึกษาพระปริยัติธรรมในปัจจุบัน มีการสอนกันในหลายสำนัก    ตามหลักสูตรที่สนามหลวงแผนกธรรมกำหนดไว้ เป็นไปตามความสามารถของอาจารย์ผู้สอน ทำให้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยเกิดความหลายหลากแนวทางความคิด อาจารย์ผู้สอนบางรูปอาจเน้นการสอนในเชิงทฤษฎี ให้นักเรียนได้เกิดความเข้าใจแล้วนำไปปฏิบัติ อาจารย์บางรูปอาจเน้นการสอนธรรมจากสภาวการณ์ของสังคม ชี้นำให้นักเรียนได้เห็นถึงคุณค่าของพระธรรมวินัยจากสภาวการณ์นั้น ๆ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความรู้พระธรรมวินัยขั้นพื้นฐานเหมือนกันทั่วประเทศ เป็นความรู้ขั้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน การสอบธรรมสนามหลวงจึงเป็นการทดสอบความรู้ขั้น พื้นฐานนั้น ผู้สอบธรรมสนามหลวงได้ ย่อมได้รับการรับรองวิทยฐานะตามภูมิธรรมที่ตนสอบได้ และเป็นผู้ที่สามารถกล่าวได้เต็มความภาคภูมิใจว่า ตนเป็นพุทธศาสนิกชนผู้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมาด้วยดี ถ้าไปประพฤติเสียหาย ไม่สมกับวิทยฐานะของตน ย่อมจะได้รับคำตำหนิจากสังคม

              ในการสอบธรรมสนามหลวงครั้งนี้ ขอให้นักเรียนผู้เข้าสอบ พึงตระหนักถึงความสำคัญแห่งการทดสอบภูมิธรรมความรู้ที่ตนได้ศึกษามา   สอบด้วยความยุติธรรมสมภูมิธรรมของตน และสำนักศึกษาของตน เพื่อเป็นศรีแก่ตนเองและสำนักศึกษาต่อไป

           ขอขอบคุณ และอนุโมทนาในกุศลกิจของทุกฝ่าย ที่ช่วยกันสนับสนุน การเรียนการสอน  และการสอบธรรมสนามหลวงนี้

              ขออานุภาพแห่งคุณพระไตรรัตน์ และความดีอันพิสุทธิ์ที่ทุกท่านได้ตั้งใจบำเพ็ญมาโดยตลอด จงอำนวยอิฏฐวิบุลมนุญผลนำให้ทุกท่านได้ประสบความเจริญรุ่งเรือง และถึงความงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า    ตลอดกาลเป็นนิตย์เทอญ.

 (พระพรหมมุนี)

แม่กองธรรมสนามหลวง


วัดบวรนิเวศวิหาร


กรุงเทพมหานคร

 

วิธีตรวจในสนามหลวง

ขอประกาศแก่กรรมการทั้งหลายทราบทั่วกัน

              การตรวจประโยคธรรมและธรรมศึกษาของสนามหลวงมีความประสงค์เพื่อทราบความรู้ของนักเรียนตามความเป็นจริง เป็นทางให้      ผู้ศึกษาเจริญในวิทยาคุณและจริยสมบัติ สืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป

              ปัญหาที่ออกสอบ สนามหลวงแผนกธรรมได้รวบรวมขึ้นจาก   ข้อสอบของพระกรรมการหลายรูป มีกรรมการตรวจพิเศษคัดเลือกอีก  ชั้นหนึ่ง ถามความจำบ้าง ความเข้าใจบ้าง ความคิดบ้าง การตรวจต้องถือแนวนี้เป็นเกณฑ์ตรวจ คำถามที่ถามความจำ ต้องตอบให้ตรงตามแบบ และอาจเหมือนกันได้หมดทุกคน ที่ถามความเข้าใจ ในทางที่ถูกมีได้อย่างเดียว แต่โวหารอาจต่างกัน ที่ถามความคิด เหตุผลย่อมมีได้คนละอย่างตามความคิดของแต่ละคน นี้เป็นประมาณในการตอบ คำเฉลยนั้นเป็นเพียงแนวทางให้กรรมการได้ถือเป็นเกณฑ์ในการตรวจได้สะดวกเป็นเพียง มติหนึ่งที่อาศัยหลักเป็นสำคัญ จะเกณฑ์ให้นักเรียนตอบตรงกันทุกข้อคงเป็นไปไม่ได้ เว้นไว้แต่ใจความสำคัญเท่านั้น ส่วนข้อสอบของธรรมศึกษาทุกชั้น เว้นเรียงความแก้กระทู้ธรรม ปัญหาที่ออกสอบเป็นแบบปรนัย คือเลือกคำตอบที่บอกมาแล้วในแต่ละข้อ แต่ต้องเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อซึ่งมีที่ถูกที่สุดเพียงข้อละคำตอบเดียว นักเรียน จะต้องเลือกตอบข้อที่ถูกเท่านั้น เลือกตอบผิด เป็นไม่ได้คะแนน เป็นการถามทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความจำ และความคิดไปในตัวด้วย

              การตรวจก็เพื่อจะรู้ว่านักเรียนมีความรู้หลักธรรมวินัย ควรแก่การดำรงพระศาสนาหรือไม่ ควรได้เป็นได้ ควรตกเป็นตก อย่างนี้เป็นทางเจริญวิทยาคุณของผู้ศึกษาต่อไป

              ผู้ตรวจพึงตั้งอยู่ในมัชฌัตตุเบกขา วางตนเป็นกลาง ถือความจริงเป็นหลัก ถูก ว่าตามถูก  ผิด ว่าตามผิด ไม่ควรถืออคติอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม มุ่งทำกิจพระศาสนา สงเคราะห์กุลบุตรให้ได้ความเสมอภาคทั่วหน้ากัน

              ท่านทั้งหลายได้รับอาราธนามาให้เป็นกรรมการนั้น คือเป็นผู้ที่สนามหลวงเห็นแล้วว่าทรงคุณธรรมควรแก่ฐานะ สมควรจะยกย่องให้เป็นผู้ตรวจความรู้ของนักเรียนได้ ขอท่านจงเคารพต่อความเป็นธรรม เพื่อความเสมอภาคแก่นักเรียนทั้งหลาย ถ้าคณะกรรมการกองใดหรือผู้ใด     มีมติไม่ลงกันหรือขัดข้องอย่างใด หากตกลงกันไม่ได้ ให้หารือประธาน  ในที่นั้น ให้ท่านชี้ขาดและพึงปฏิบัติตามโดยธรรม

              อนึ่ง นักเรียนบางคน บางสำนักอยากได้จนเกินพอดี ถึงกับทำผิดระเบียบของสนามหลวง ลืมคิดถึงตนว่า เรียนธรรมสอบธรรม เป็น     นักธรรม ขอให้กรรมการทั้งหลายช่วยสอดส่องตรวจตรากำกับไปด้วย ลักษณะของใบตอบที่ส่อทุจริต ดังนี้

             .   ฉบับเดียวกัน ลายมือไม่เหมือนกัน หรือวันต้นอย่างหนึ่ง     วันหลังอย่างหนึ่ง    ซึ่งส่อว่าเป็นคนละคน เหล่านี้แปลว่าคนอื่นทำให้

            .   คำตอบที่ต้องเรียงคำพูดมากๆ เหมือนกับฉบับอื่น อันส่อว่าไม่ใช่ความจำ ความรู้อันเป็นสำนวนของตน นี้แปลว่า ดูคนอื่นตอบหรือให้คนอื่นดูของตน

            .   ตอบโดยทำนองอย่างเขียนคำบอก เหมือนกันจริงๆ เช่น ผิดเหมือนกัน ถูกเหมือนกัน แก้เหมือนกัน ขีดฆ่าเหมือนกัน ตกข้อความเหมือนกัน นี้แสดงว่ามีผู้บอกให้ตอบ

             .   ถ้าเห็นว่าทุจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง จงลงเลขศูนย์ นำเสนอประธานกรรมการเก็บรวบรวมไว้กับใบตอบคนเดียวกันเป็นหลักฐาน



วิธีตรวจประโยคธรรมสนามหลวง

 

             .   วิธีตรวจนี้ เป็นวิธีตรวจให้คะแนน คะแนนเต็มแต่ละข้อ มี ๑๐ คะแนน

            .   การจะตรวจให้คะแนนเต็มหรือไม่ ให้กรรมการพิจารณาเห็นตามสมควรถ้าไม่ถูกเลย  ให้ลงเลข ๐

            .   ข้อใหญ่ที่มีข้อย่อย ให้ลงคะแนนที่ข้อย่อยแต่ละข้อ แล้วรวมคะแนนไว้ที่เลขหัวข้อใหญ่นั้นๆ เมื่อตรวจข้อย่อยครบในแต่ละข้อย่อยใหญ่ ให้รวมคะแนนไว้คราวหนึ่ง แล้วเขียนเลขจำนวนคะแนนที่ได้เฉพาะข้อนั้นๆ ไว้ที่เลขหัวข้อของข้อนั้นๆ

             .   เมื่อตรวจครบทั้ง ๑๐ ข้อแล้ว ให้รวมคะแนนทั้งหมด (๑๐ ข้อ) แล้วเขียนไว้ที่มุมขวาด้านบนทุกฉบับ

             .   ตรวจเสร็จแล้วให้ลงชื่อกำกับไว้ที่มุมซ้ายมือด้านบนทุกฉบับ และฉบับแรกของแต่ละปึกให้ลงชื่อโดยเขียนตัวบรรจงทุกปึก

             .   เฉพาะใบตอบของธรรมศึกษาทุกชั้น เว้นกระทู้ ข้อสอบแต่ละวิชามี ๕๐ ข้อๆ ละ ๒ คะแนน ให้ตรวจไปตามใบเฉลยฉบับที่เฉลยไว้ให้ ตรวจแต่ละฉบับแล้ว ให้นับข้อรวมคะแนนและปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ ๕.

            .   ในกรณีที่นักเรียนธรรมศึกษากากบาทลงในช่องคำตอบในข้อเดียวกันหลายคำตอบ ถือว่าข้อนั้นๆ เป็นผิด ไม่ได้คะแนน หากมีรอย ขูด ลบ ขีด ฆ่า ไว้ แต่พอเป็นหลักฐานให้ทราบว่านักเรียนตกลงใจตอบคำตอบในข้อไหนได้ ก็ให้ตรวจไปตามนั้น

            .   การตรวจให้ใช้กรรมการ ๒ รูป เมื่อกรรมการรูปที่ ๑ ตรวจเสร็จแล้ว ให้กรรมการรูปที่ ๒ ตรวจซ้ำ ถ้าเห็นไม่ร่วมกันให้ตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเห็นร่วมกันก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไข แล้วให้ลงนามกำกับไว้ทุกฉบับ โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับกรรมการรูปที่ ๑

การให้คะแนน

             .   การให้คะแนนนักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้น มีหลักเกณฑ์  ดังนี้

                        .๑ สำหรับประโยคนักธรรมทุกชั้นให้ถือ ๔๐๐ คะแนนเป็นเกณฑ์  วิชาทุกวิชาให้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน เมื่อรวมคะแนนของทั้ง ๔ วิชาแล้ว ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๘๐ คะแนน ถือว่าสอบได้    ต่ำกว่า ๒๘๐ คะแนน ถือว่าสอบตก

                        . สำหรับธรรมศึกษาทุกชั้น ให้ถือ ๔๐๐ คะแนนเป็นเกณฑ์  วิชาทุกวิชาคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน เมื่อรวมคะแนนของทั้ง ๔ วิชาแล้ว ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คะแนน ถือว่าสอบได้ ต่ำกว่า ๒๐๐ คะแนน ถือว่าสอบตก

                        . นักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้น เมื่อตรวจดูคะแนนของแต่ละวิชาที่ได้แล้ว หากมีวิชาใดวิชาหนึ่ง ได้คะแนนต่ำกว่า ๒๕ คะแนน แม้จะรวมครบทุกวิชาแล้วได้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม ให้ถือว่าการสอบครั้งนี้เป็นการสอบตกด้วย

            .   ผู้สอบนักธรรมและธรรมศึกษาทุกชั้น ต้องสอบทั้ง ๔ วิชา   ถ้าขาดสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง สนามหลวงแผนกธรรมไม่รับพิจารณา ให้อยู่ในเกณฑ์สอบตก

            .   การตอบสับข้อให้หักคะแนนเสีย ๒ คะแนนเช่นเดิม คือแทนที่จะได้ ๑๐ คะแนนเต็ม ก็ให้เพียง ๘ คะแนนเท่านั้น หากตอบไม่หมดข้อ คงให้คะแนนไม่เต็มข้อเท่ากับการตอบ ถ้าผู้ตรวจเห็นว่าฉบับใดผิดมาก   ไม่ได้แม้แต่คะแนนเดียว ก็ให้ลง ๐ ไว้ด้วย

             .   วิชาที่ตอบต้องได้คะแนนทุกวิชา จึงจะยอมรับรวมคะแนนให้ หากเกิดวิชาใดวิชาหนึ่ง ไม่ได้คะแนนแม้แต่คะแนนเดียว หรือได้ต่ำกว่า ๒๕ คะแนน ก็ห้ามรวมคะแนน ปรับเป็นตก แม้รวมทุกวิชาแล้ว จะได้คะแนนสูงถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ตาม


แนวการตรวจกระทู้ธรรม

สำหรับกรรมการพิจารณาให้คะแนน



              .   แต่งได้ตามกำหนด

              .   อ้างกระทู้ได้ตามกฎ

              .   เชื่อมกระทู้ได้ดี

              .   อธิบายความสมกับกระทู้ที่ได้ตั้งไว้

              .   ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย

              .   ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกเป็นส่วนมาก

              .   สะอาดไม่เปรอะเปื้อน

              ขอให้กรรมการสนามหลวงแผนกธรรมได้ปฏิบัติให้ชอบด้วยระเบียบ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอบทุกประการ

              วิธีตรวจนี้ ให้ใช้เฉพาะในการสอบธรรมสนามหลวง

*********

 

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

 
 

 

ปัญหาและเฉลยข้อสอบ

นักธรรมชั้นตรี

.. ๒๕๕๒

 

 

 

กระทู้ธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ ที่ ๒๘ กันยายน พ..๒๕๕๒


กาโล  ฆสติ  ภูตานิ    สพฺพาเนว  สหตฺตนา


กาลเวลา  ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.

ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๕

----------------

 

แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล  อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้น  ต้องเรียงเชื่อมความให้ติดต่อสมเรื่องกับกระทู้ตั้ง

          ชั้นนี้ กำหนดให้เขียนลงในใบตอบตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป


----------------

ให้เวลา ๓ ชั่วโมง


 

 

 

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ..๒๕๕๒


 

.     บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร ?

จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่

       ๑.      บุพพการี  ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน

กตัญญูกตเวที  ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว  และตอบแทน

(ตอบเพียง ๒ คู่)

คู่ที่ ๑   มารดาบิดากับบุตรธิดา

คู่ที่ ๒  ครูอาจารย์กับศิษย์

คู่ที่ ๓   พระราชากับราษฎร

คู่ที่ ๔   พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท ฯ

.     อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมีกี่อย่าง ?  

ข้อที่ว่า ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์นั้นคืออย่างไร ?

       ๒.      มี ๓ อย่าง ฯ

คือ ผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ ฯ

 

.     มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่ว เรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?  

        เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรปฏิบัติอย่างไร ?

.      เรียกว่า อกุศลมูล ฯ

          มี     . โลภะ อยากได้

                 . โทสะ คิดประทุษร้ายเขา

                 . โมหะ หลงไม่รู้จริง ฯ

          เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรละเสีย  ด้วยทาน ศีล ภาวนา ฯ

.     ปัญญาอันเห็นชอบอย่างไร จึงชื่อว่ามรรคในอริยสัจ ๔ ? เพราะเหตุไร ?

.      ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์  สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด  สิ่งนี้ความดับทุกข์  สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ได้ชื่อว่ามรรค ฯ   เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ฯ

.     ธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง  คืออะไรบ้าง ?   ธรรม ๕ อย่างนั้น เรียกว่าอินทรีย์  เพราะเหตุไร ?

.      คือ     .  สัทธา       ความเชื่อ            .  วิริยะ    ความเพียร

       .  สติ        ความระลึกได้     .  สมาธิ    ความตั้งใจมั่น

                   .  ปัญญา    ความรอบรู้ ฯ

          เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน ฯ

.     คารวะ คืออะไร ?   มีกี่อย่าง ?  

        ข้อว่า คารวะในความศึกษา  หมายถึงอะไร ?

.      คือ ความเคารพ เอื้อเฟื้อ ฯ   มี ๖ อย่าง ฯ

          หมายถึง ความเคารพ เอื้อเฟื้อในไตรสิกขา ฯ

.     มละ คืออะไร ? เป็นศิษย์ได้ดีแล้วทำมึนตึงกับอาจารย์ จัดเข้าในมละอย่างไหน และควรชำระมละอย่างนั้นด้วยธรรมอะไร ?

.      มละคือมลทิน ฯ   จัดเข้าใน มักขะ ลบหลู่คุณท่าน   และควรชำระด้วยกตัญญูกตเวทิตา ความรู้คุณท่านแล้วตอบแทน ฯ

.     อบายมุข  คืออะไร ?  คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษอย่างไร ?

.      คือ  ทางแห่งความเสื่อม ฯ

          มีโทษอย่างนี้ คือ

๑.     นำให้เป็นนักเลงการพนัน

๒.    นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

๓.     นำให้เป็นนักเลงเหล้า

๔.     นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

๕.     นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า

๖.      นำให้เป็นคนหัวไม้ ฯ

.      ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ?  มีอะไรบ้าง ?

.      เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ฯ   มีดังนี้

. อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี  ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี  ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี

.  อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา  คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น  ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี  รักษาการงานของตน  ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี

.  กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ไม่คบคนชั่ว

.    สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ไม่ให้  ฝืดเคืองนัก  ไม่ให้ฟูมฟายนัก ฯ

๑๐.   มิจฉาวณิชชา คืออะไร ? การค้าขายเด็ก การค้าขายยาเสพติด การ    ค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเป็นมิจฉาวณิชชาข้อใด?

๑๐.    มิจฉาวณิชชา  คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ฯ

          การค้าขายเด็ก  จัดเข้าในค้าขายมนุษย์

          การค้าขายยาเสพติด  จัดเข้าในค้าขายน้ำเมา

          การค้าขายเบ็ดตกปลา  จัดเข้าในค้าขายเครื่องประหาร ฯ

***********

 
 

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพุธ ที่ ๓๐ กันยายน พ..๒๕๕๒


 

.     การเรียนรู้พุทธประวัติได้ประโยชน์อย่างไร ?

.      ได้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ

.    ในด้านการศึกษา ทำให้ทราบความเป็นมาของพระพุทธเจ้า เช่นเดียว

       กับการศึกษาตำนานความเป็นมาของชาติตน ทำให้บุคคลได้ทราบว่า 

       ชาติของตนเป็นมาอย่างไร  มีความสำคัญอย่างไรเป็นต้น

.   ในด้านปฏิบัติ  ทำให้บุคคลได้แนวในการดำเนินชีวิตตามพระพุทธ

       จริยา อันเป็นปฏิปทานำความสุขความเจริญมาให้แก่บุคคล ตาม

       สมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ ฯ

.     เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นคืออะไรบ้าง ?  

ทรงเห็นแล้ว มีพระดำริอย่างไร ?

.      คือ  คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ฯ  

          ทรงมีพระดำริว่า  บุคคลทั่วไปถูกความเจ็บ ความแก่ ความตายครอบงำ  

          ไม่ล่วงพ้นไปได้ ถึงพระองค์เองก็มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ควรแสวงหา

          อุบายเครื่องพ้น  แต่ฆราวาสเป็นที่คับแคบ ดุจเป็นทางที่มาแห่งธุลี

          บรรพชาเป็นช่องว่าง พอที่จะแสวงหาอุบายนั้นได้ จึงน้อมพระหฤทัยไป

          ในบรรพชา ฯ

.     การที่พระมหาบุรุษทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้น เพราะเหตุไร ?

.      เพราะทรงดำริว่า  ทุกกรกิริยาที่ทรงบำเพ็ญนั้นจะยิ่งไปกว่านี้ไม่มี   แต่ก็ไม่

เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ การบำเพ็ญเพียรทางจิตจักเป็นทางตรัสรู้ได้กระมัง  แต่คน

ซูบผอมเช่นนี้ไม่สามารถทำได้   จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา  กลับมาเสวย

พระอาหารตามปกติ ฯ

.     อนัตตลักขณสูตร ว่าด้วยเรื่องอะไร ? ทรงแสดงเมื่อไร ?  

ผลเป็นอย่างไร ?

.      ว่าด้วย ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ฯ   เมื่อวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ฯ         ผล  คือจิตของพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕  พ้นแล้วจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฯ

.     ฆราวาสที่บรรลุพระอรหัตผลคนแรกคือใคร ? เพราะฟังธรรมอะไร ?

.      คือ ยสกุลบุตร ฯ   เพราะฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ ฯ

.     พระพุทธเจ้าทรงเลือกแคว้นมคธเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก เพราะเหตุไร ?

.      เพราะแคว้นมคธ  เป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจและบริบูรณ์ด้วยสมบัติ        มีประชาชนมาก  มีเจ้าลัทธิมาก  จึงทรงเลือก ฯ

.     พระอัครสาวกทั้ง ๒ องค์สำเร็จเป็นพระโสดาบันเพราะฟังธรรมจากใคร ?

.      พระสารีบุตร ฟังธรรมจากพระอัสสชิเถระ ฯ

          พระโมคคัลลานะ ฟังธรรมจากพระสารีบุตร ฯ

 

.     พระพุทธรูป สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และ อังคารสถูป อย่างไหนเป็นบริโภคเจดีย์และอุทเทสิกเจดีย์ ?

.      สังเวชนียสถาน ตุมพสถูป และ อังคารสถูป เป็นบริโภคเจดีย์

          พระพุทธรูป เป็นอุทเทสิกเจดีย์ ฯ

 

ศาสนพิธี

.     อุโบสถศีล  มีกี่ข้อ ?  ข้อที่ ๓ ว่าอย่างไร ? การเข้าจำอุโบสถศีลนี้อยู่ในหมวดไหนของศาสนพิธี ?

.      มี ๘ ข้อ ฯ  ข้อที่ ๓ ว่า  อพฺรหฺมจริยา  เวรมณี  สิกฺขาปทํ  สมาทิยามิ ฯ   อยู่ในหมวดกุศลพิธี ฯ

๑๐.   การแสดงความเคารพในศาสนพิธีมีอะไรบ้าง ?  ในแต่ละอย่างมีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?

๑๐.    มี ประนมมือ ๑  ไหว้ ๑  กราบ ๑ ฯ

          ประนมมือ  คือการกระพุ่มมือทั้งสองประกบกันไว้ระหว่างอก  

          โดยให้ทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดติดตรงกัน

          ไหว้  คือการยกมือที่ประนมขึ้นพร้อมก้มศีรษะเล็กน้อยให้มือประนม

          จรดหน้าผาก นิ้วมือทั้ง ๒ อยู่ระหว่างคิ้ว

กราบ  คือการแสดงอาการกราบราบลงพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ฯ

***********

 

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๑ ตุลาคม พ..๒๕๕๒


 

.     พุทธบัญญัติและอภิสมาจาร คืออะไร ?  ทั้ง ๒ รวมเรียกว่าอะไร ?

.      พุทธบัญญญัติ  คือข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้น  เพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย และวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ส่วนอภิสมาจาร คือขนบธรรมเนียมที่ทรงแต่งตั้งขึ้น เพื่อชักนำความประพฤติของภิกษุสงฆ์ให้ดีงาม ฯ ทั้ง ๒ นี้รวมเรียกว่า พระวินัย ฯ

.     อาบัติ คืออะไร ? อาบัติที่เป็นโลกวัชชะและที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ?  จงยกตัวอย่างประกอบด้วย

.      คือ  โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ฯ

          อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย คนสามัญทำก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น ฯ

 
.     สิกขากับสิกขาบท  ต่างกันอย่างไร ? อย่างไหนมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?

.      สิกขา  คือ ข้อที่ภิกษุต้องศึกษา  มี ๓  ได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา

          ปัญญาสิกขา ส่วนสิกขาบท  คือ พระบัญญัติมาตราหนึ่ง ๆ เป็นสิกขาบท

          หนึ่ง ๆ  มี ๒๒๗ สิกขาบท  ได้แก่ ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ 

          อนิยต ๒  นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐  ปาจิตตีย์ ๙๒  ปาฏิเทสนียะ ๔ 

          เสขิยะ ๗๕  และ อธิกรณสมถะ ๗ ฯ 

.     คำว่า  อาบัติที่ไม่มีมูล  กำหนดโดยอาการอย่างไร ?   ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติไม่มีมูลต้องอาบัติอะไร ?

.      กำหนดโดยอาการ ๓  คือ ไม่ได้เห็นเอง ๑  ไม่ได้ยินเอง ๑  ไม่ได้เกิด รังเกียจสงสัย ๑  ว่าภิกษุนั้นต้องอาบัติชื่อนั้น ฯ   โจทด้วยอาบัติปาราชิกต้องอาบัติสังฆาทิเสส  โจทด้วยอาบัติอื่นจากอาบัติปาราชิกต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

.     ในสิกขาบทที่ ๒ แห่งอาบัติปาราชิก  ทรัพย์เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติถุลลัจจัย และอาบัติทุกกฏ มีกำหนดราคาไว้เท่าไร ?

.      มีกำหนดราคาไว้ดังนี้

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นเหตุให้ต้องอาบัติปาราชิก

ทรัพย์ มีราคาไม่ถึง ๕ มาสก แต่มากกว่า ๑ มาสก เป็นเหตุให้ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ทรัพย์ มีราคาตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา เป็นเหตุให้ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

 

.     ผ้าไตรครอง  มีอะไรบ้าง ? ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร ?

.     มี  สังฆาฏิ  อุตตราสงค์  อันตรวาสก ฯ   ต่างกันอย่างนี้  ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน  มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน   ส่วนอติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง  มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ

.     พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม  โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม  พระ ข. หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ?  

.      พระ ก. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะพูดปด

          พระ ข. เป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะดื่มน้ำเมา   แม้ไม่รู้ก็ต้องอาบัติ

          เพราะสิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ ฯ

.     ภิกษุนำตั่งของสงฆ์ไปตั้งใช้ในที่แจ้ง จะหลีกไปสู่วัดอื่นต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอาบัติ ?

.      ต้องเก็บด้วยตนเอง  หรือใช้ให้ผู้อื่นเก็บ หรือมอบหมายให้ผู้อื่น 

จึงจะไม่เป็นอาบัติ ฯ

.     ลักษณะการประเคนประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง ?   การช่วยกันยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนก็ดี  การจับผ้าปูโต๊ะประเคนก็ดี   ทั้ง ๒ วิธีนี้ถูกต้องหรือไม่ ?  เพราะเหตุไร ?

.      ประกอบด้วยองค์ต่อไปนี้

          . ของที่จะพึงประเคนนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป  พอคนปานกลาง

              ยกได้คนเดียว

. ผู้ประเคนเข้ามาอยู่ในหัตถบาส

. เขาน้อมเข้ามา

. กิริยาที่น้อมเข้ามาให้นั้น ด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้

     ด้วยโยนให้ก็ได้

. ภิกษุรับด้วยกายก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้ ฯ

     ไม่ถูกทั้ง ๒ วิธี  เพราะไม่ต้องลักษณะองค์ประเคน  คือ การช่วยกัน

     ยกโต๊ะอาหารขึ้นประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๑  

     การจับผ้าปูโต๊ะประเคนผิดลักษณะองค์ที่ ๓ ฯ

๑๐.   อธิกรณ์ คืออะไร ? เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องทำอย่างไร ?

๑๐.    คือ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ  

          ต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรแก่อธิกรณ์นั้น ๆ ฯ

***********

 

เรื่อง  ปัญหาและเฉลยข้อสอบ นักธรรมชั้นตรี  .. ๒๕๕๒

 

พิมพ์ครั้งแรก                     วันที่ ๕ ตุลาคม พ.. ๒๕๕๒

 

จำนวน                                   ,๐๐๐ เล่ม

 

จัดพิมพ์                      สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

                                            เลขที่ ๒๘๗ อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย

                                            หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ

                                            เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐

                                            โทร. ๒๒๘๐๗๖๙๒, ๒๖๒๙๐๙๖๑, ๒๖๒๙๐๙๖๒

                                            โทรสาร. ๒๖๒๙๐๙๖๓

 

ตรวจต้นฉบับและพิสูจน์อักษร  :

                                            พระพรหมมุนี                                          วัดบวรนิเวศวิหาร

                                            พระธรรมวรเมธี                                       วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

                                            พระธรรมรัตนดิลก                                  วัดสุทัศนเทพวราราม

                                            พระราชญาณกวี                                      วัดโสมนัสวิหาร

                                            พระสุธีรัตนาภรณ์                                    วัดสุทัศนเทพวราราม

                                            พระชินวงศเวที                                        วัดตรีทศเทพ

                                            พระมหาณรงค์ ญาณิสฺสโร                          วัดตรีทศเทพ

 

พิมพ์/รูปเล่ม  :                   พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์                     วัดสัมพันธวงศ์

                                       นายถนอมศักดิ์ สู่ภิภักดิ์                              

 

พิมพ์ที่  โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

๓๑๔๓๑๖ ปากซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐

นายพีรพล กนกวลัย ผู้พิมพ์โฆษณา  โทร. ๒๒๒๓๓๓๕๑, ๒๒๒๓๕๕๔๘

ไม่มีความคิดเห็น: