วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คืนสู่รากเหง้า (back to the root)







คืนสู่รากเหง้าเป็นคำที่ใช้เพื่อหมายถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการฟื้นฟู ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การฟื้นฟูเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ (identity) ของท้องถิ่น โดยการสืบสาวราวเรื่องในอดีต ค้นหาประวัติความเป็นมาคุณค่าต่างๆอันบูรณาการอยู่ในวิถีของชุมชนในลักษณะ ต่างๆ แล้วนำมาปรับประยุกต์เพื่อสืบทอดคุณค่าเหล่านั้นอย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม ปัจจุบันที่แตกต่างไปจากอดีต  การคืนสู่รากเหง้าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้เคารพบรรพบุรุษ ความรู้ภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายที่เป็นรากฐานของเผ่าพันธุ์และชีวิตความเป็น อยู่ของชุมชนที่สืบทอดและถ่ายทอดต่อๆกันมา  การคืนสู่รากเหง้าทำให้เข้าใจวิถีของผู้คนในอดีต เข้าใจความสัมพันธ์อันดีและสมดุลที่ผู้คนมีต่อธรรมชาติต่อกันและกัน
          การคืนสู่รากเหง้าไม่ใช่การคืนสู่อดีต ไม่ใช่การกลับไปสู่รูปแบบดั้งเดิม ไม่ใช่การ "โหยหาสวรรค์หาย" (yearning for the lost paradise) แบบ "วันวานยังหวานอยู่" ไม่ใช่การฟื้นฟูรูปแบบ  แต่ฟื้นฟูเนื้อหาหรือคุณค่าที่ดีงามและที่ทำให้ชีวิตของผู้คนดีกว่าท่เป็น อยู่ เช่น การเป็นอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน การช่วยเหลือเกื้อกูลกันซึ่งในอดีตมีอยู่หลายแบบ เช่น การลงแยก แต่วิธีการลงแขกแบบเดิมไม่อาจใช้ได้ในวิถีสังคมปัจจุบันมีชุมชนหลายแห่งโดย เฉพาะในภาคใต้ที่ปรับให้เป็นแชร์แรงงาน มีระเบียบกฎเกณฑ์ ซึ่งการลงแยกในอดีตไม่มี แต่เนื้อหาคือการพึ่งพาอาศัยกัน จัดการแรงงานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม คืนสู่ราก เหง้ามีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "คืนสู่ต้นกำเนิด" ซึ่งใช้กันในประเทศตะวันตกเพื่ออธิบายกระบวนการสืบค้นหาที่มาและความหมายของ หลักธรรมคำสอนศาสนาคริสต์จากคัมภีร์ไบเบิล เช่น การเน้นการศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลเพื่อให้เข้าใจความหมายของหลักธรรมโดยตรง โดยไม่ผ่านการตีความของใคร


ที่มา :
 http://anchuleewic.awardspace.info/index.php?option=com_content&task=view&id=2&Itemid=1

ไม่มีความคิดเห็น: