ชาติพันธุ์วรรณนา
ชาติพันธุ์วรรณนาเป็นรากฐานของวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม คำว่า “Ethnography”
มาจากรากศัพท์ 2 คำ คือคำว่า “Ethno” แปลว่าเชื้อชาติหรือประชากร และคำว่า “Graphein” แปลว่าการเขียน
เมื่อรวมคำทั้ง 2 เข้าด้วยกันแปลได้ว่าการเขียนเกี่ยวกับประชากรกลุ่มต่างๆ
“ชาติพันธุ์วรรณา” จึงหมายถึง การพรรณนาถึงวิถีชีวิต
ขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรมที่เฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง
เพื่อให้รู้จักวัฒนธรรมนั้นๆได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น
การพรรณนาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีน ชาวญวน
ชาวมอญหรือชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆในประเทศไทย หรือเป็นการพรรณนาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ
ในประเทศอเมริกา หรือสังคมระดับชนเผ่าต่างๆของทวีปออสเตรเลียหรือแอฟริกา เป็นต้น
ในช่วงแรกๆของการศึกษาชาติพันธุ์วรรณา นักมานุษยวิทยาใช้ข้อมูลของนักสำรวจ นักเดินทาง นักสอนศาสนาที่ได้บันทึกวัฒนธรรมของสังคมต่างๆไว้ ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์วรรณาเริ่มมีความเห็นตรงกันว่า ข้อมูลเหล่านั้นค่อนข้างมีอคติและมีความไม่เป็นกลางอีกทั้งยังเชื่อถือไม่ได้ จึงเลิกใช้มูลดังกล่าว นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยสนาม (Field work) โดยการกระตุ้นของโบแอส (Boas) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในอเมริกา (จะกล่าวโดยละเอียดในส่วนของระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา) นับตั้งแต่นั้นมานักมานุษยวิทยาทุกคนจะเก็บข้อมูลด้วยตัวเองโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยสนาม เนื่องจากงานวิจัยสนามเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรมของผู้จะเป็นนักมานุษยวิทยาอาชีพ ดังนั้นนักมานุษยวิทยาทุกคนจึงเป็นนักชาติพันธุ์วรรณาไปด้วยในขณะเดียวกันจวบจนกระทั่งปัจจุบันนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมได้ทำการศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณาทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 2,000 สังคม ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆแพร่ไปยังนักวิชาการสาขาอื่นๆด้วย
การศึกษาของนักชาติพันธุ์วรรณาเป็นลักษณะการศึกษาในเชิงการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้เกิดการศึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural Study) คือความเข้าใจในเรื่องความเป็นมนุษย์ทางมานุษยวิทยาที่ผู้เรียนวิชานี้ต้องศึกษาและฝึกฝนก็คือ การที่ต้องรู้ตักตัวตนของตัวเองก่อนว่าอยู่ในกลุ่มไหน พวกไหน มีวีธีคิดและสภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรและแตกต่างไปจากคนกลุ่มอื่นๆอย่างใดบ้าง เมื่อรู้จักว่าเขาแตกต่างอย่างไรแล้วก็ต้องมาเปรียบเทียบดูว่าท่ามกลางความแตกต่างนั้นมีอะไรที่เหมือนกันในความเป็นมนุษย์บ้าง
นอกจากนั้นงานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา จะเป็นข้อมูลสำหรับนักมานุษยวิทยาใช้ ในการเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆเพื่อค้นหาธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์แล้ว งานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณายังสามารถเอื้อแก่นักสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆที่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ตามวัตถุประสงค์ในศาสตร์ของตัวเองได้อีกด้วย
ในช่วงแรกๆของการศึกษาชาติพันธุ์วรรณา นักมานุษยวิทยาใช้ข้อมูลของนักสำรวจ นักเดินทาง นักสอนศาสนาที่ได้บันทึกวัฒนธรรมของสังคมต่างๆไว้ ต่อมาในศตวรรษที่ 19 นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์วรรณาเริ่มมีความเห็นตรงกันว่า ข้อมูลเหล่านั้นค่อนข้างมีอคติและมีความไม่เป็นกลางอีกทั้งยังเชื่อถือไม่ได้ จึงเลิกใช้มูลดังกล่าว นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยสนาม (Field work) โดยการกระตุ้นของโบแอส (Boas) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมในอเมริกา (จะกล่าวโดยละเอียดในส่วนของระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา) นับตั้งแต่นั้นมานักมานุษยวิทยาทุกคนจะเก็บข้อมูลด้วยตัวเองโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยสนาม เนื่องจากงานวิจัยสนามเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรมของผู้จะเป็นนักมานุษยวิทยาอาชีพ ดังนั้นนักมานุษยวิทยาทุกคนจึงเป็นนักชาติพันธุ์วรรณาไปด้วยในขณะเดียวกันจวบจนกระทั่งปัจจุบันนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมได้ทำการศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณาทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 2,000 สังคม ทำให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆแพร่ไปยังนักวิชาการสาขาอื่นๆด้วย
การศึกษาของนักชาติพันธุ์วรรณาเป็นลักษณะการศึกษาในเชิงการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้เกิดการศึกษาข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural Study) คือความเข้าใจในเรื่องความเป็นมนุษย์ทางมานุษยวิทยาที่ผู้เรียนวิชานี้ต้องศึกษาและฝึกฝนก็คือ การที่ต้องรู้ตักตัวตนของตัวเองก่อนว่าอยู่ในกลุ่มไหน พวกไหน มีวีธีคิดและสภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรและแตกต่างไปจากคนกลุ่มอื่นๆอย่างใดบ้าง เมื่อรู้จักว่าเขาแตกต่างอย่างไรแล้วก็ต้องมาเปรียบเทียบดูว่าท่ามกลางความแตกต่างนั้นมีอะไรที่เหมือนกันในความเป็นมนุษย์บ้าง
นอกจากนั้นงานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา จะเป็นข้อมูลสำหรับนักมานุษยวิทยาใช้ ในการเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างๆเพื่อค้นหาธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์แล้ว งานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณายังสามารถเอื้อแก่นักสังคมศาสตร์สาขาอื่นๆที่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ตามวัตถุประสงค์ในศาสตร์ของตัวเองได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น