เชียงรุ้ง เป็นชื่อเมืองในแคว้นสิบสองปันนา
มีชื่อเรียกเป็นหลายอย่างต่าง ๆ กันไปเช่นในพงศาวดารโยนก มีเรียกว่า อาฬวีรัฐ
เป็นต้น
แคว้นสิบสองปันนาแยกกันเป็นหลายเมือง ต่างมีเจ้านายปกครอง แต่อยู่ในเครือญาติวงศ์เดียวกัน มีเจ้าเมืองเชียงรุ้งเป็นหัวหน้า มีอาณาเขตอยู่ระหว่างแดนจีน แดนพม่า กับแคว้นลานนาไทย
เมืองเชียงรุ้งปรากฎในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นเมื่อรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า เป็นเมืองหนึ่งใน ๒๐ เมือง ที่ได้ถวายดอกไม้ทองเงิน เมืองทั้ง ๒๐ เมืองนั้นคือ เมืองนครหลวง เมืองศรีสัตนาคนหุต เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองเชียงไกร เมืองเชียงกราน เมืองเชียงแสน เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงราย เมืองแสนหวี เมืองเขมราช เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองใต้ทอง เมืองโคตรบอง เมืองเรวแกว ๑๖ เมืองนี้ ฝ่ายเหนือ เมืองฝ่ายใต้มีเมืองอุยองตะหนะ เมืองมลากา เมืองมลายู เมืองวรวารี
ชาวเมืองเชียงรุ้งในไทยลื้อ ภาษาและสำเนียงคล้ายชาวนครศรีธรรมราช ที่เป็นดังนี้เพราะปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระรามเมศวรยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ กวาดครอบครัวอพยพผู้คนลงมาแล้วให้ส่งไปไว้เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองจันทบุรี ไทยที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ที่กวาดต้อนอพยพมานั้น สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่าคงจะเป็นพวกลื้อนี้โดยมาก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เกิดเหตุจลาจลในเมืองลื้อ อาณาเขตสิบสองปันนา จีนอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พม่าอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พวกเจ้านายผู้ใหญ่เมืองเชียงรุ้ง จึงเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นขย้าของขัณฑสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยเอาสิบสองปันนามาเป็นเมืองขึ้น จะต้องตัดกำลังพม่าทางเมืองเชียงตุงเสียก่อน แต่การตีเชียงตุงไม่เป็นผลสำเร็จ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เจ้าเมืองเชียงรุ้งได้แต่งทูตให้เชิญศุภอักษรกับต้นไม้ทองเงิน เครื่องบรรณาการลงมากรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยตีเมืองเชียงรุ้งได้ พม่าก็ทำอะไรแก่เมืองเชียงรุ้งไม่ได้ จึงโปรดให้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง แต่ไม่สำเร็จ ๑๑/ ๖๕๒๕
แคว้นสิบสองปันนาแยกกันเป็นหลายเมือง ต่างมีเจ้านายปกครอง แต่อยู่ในเครือญาติวงศ์เดียวกัน มีเจ้าเมืองเชียงรุ้งเป็นหัวหน้า มีอาณาเขตอยู่ระหว่างแดนจีน แดนพม่า กับแคว้นลานนาไทย
เมืองเชียงรุ้งปรากฎในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นเมื่อรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถว่า เป็นเมืองหนึ่งใน ๒๐ เมือง ที่ได้ถวายดอกไม้ทองเงิน เมืองทั้ง ๒๐ เมืองนั้นคือ เมืองนครหลวง เมืองศรีสัตนาคนหุต เมืองเชียงใหม่ เมืองตองอู เมืองเชียงไกร เมืองเชียงกราน เมืองเชียงแสน เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงราย เมืองแสนหวี เมืองเขมราช เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองใต้ทอง เมืองโคตรบอง เมืองเรวแกว ๑๖ เมืองนี้ ฝ่ายเหนือ เมืองฝ่ายใต้มีเมืองอุยองตะหนะ เมืองมลากา เมืองมลายู เมืองวรวารี
ชาวเมืองเชียงรุ้งในไทยลื้อ ภาษาและสำเนียงคล้ายชาวนครศรีธรรมราช ที่เป็นดังนี้เพราะปรากฎในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อ พ.ศ.๑๙๒๗ สมเด็จพระรามเมศวรยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ กวาดครอบครัวอพยพผู้คนลงมาแล้วให้ส่งไปไว้เมืองพัทลุง เมืองสงขลา เมืองนครศรีธรรมราช เมืองจันทบุรี ไทยที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ที่กวาดต้อนอพยพมานั้น สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงวินิจฉัยว่าคงจะเป็นพวกลื้อนี้โดยมาก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เกิดเหตุจลาจลในเมืองลื้อ อาณาเขตสิบสองปันนา จีนอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พม่าอุดหนุนฝ่ายหนึ่ง พวกเจ้านายผู้ใหญ่เมืองเชียงรุ้ง จึงเข้ามาสวามิภักดิ์เป็นขย้าของขัณฑสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยเอาสิบสองปันนามาเป็นเมืองขึ้น จะต้องตัดกำลังพม่าทางเมืองเชียงตุงเสียก่อน แต่การตีเชียงตุงไม่เป็นผลสำเร็จ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เจ้าเมืองเชียงรุ้งได้แต่งทูตให้เชิญศุภอักษรกับต้นไม้ทองเงิน เครื่องบรรณาการลงมากรุงเทพ ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าไทยตีเมืองเชียงรุ้งได้ พม่าก็ทำอะไรแก่เมืองเชียงรุ้งไม่ได้ จึงโปรดให้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง แต่ไม่สำเร็จ ๑๑/ ๖๕๒๕
www1.mod.go.th/heritage/nation/dictionary/dict11.htm
สิบสองปันนา
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ทางใต้สุดมณฑลยูนนาน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
สิบสองปันนา หรือ
สิบสองพันนา หรือชื่อเต็มว่า เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มีความหมายคือ ๑๒
เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง ซึ่งในอดีตเป็นเมืองของชาวไทลื้อ
ภูมิประเทศ
เขตปกครองตนเองพิเศษสิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ
๑๙,๗๐๐
ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาวและรัฐฉาน
ของประเทศพม่า โดยมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง
ประวัติเมืองสิบสองปันนา
เมืองสิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง
เมื่อประมาณ ๘๓๐ ปีก่อน โดยพญาเจืองหรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ ๑
อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นและแผ่ขยายอาณาเขตมากที่สุดในยุคท้าวอินเมือง
สามารถขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเชียงตุง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง
จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว
เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครองหัวเมืองประเทศราช
สิบสองปันนาดำรงความมั่นคมเฟื่องฟูอยู่
๑๐๐ กว่าปี ก็ถูกรุกรานโดยชาวมองโกลและตกอยู่ในการปกครองของจีนในพ.ศ.๑๘๓๓
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากชื่อภาษาไทลื้อมาเป็นภาษาจีนและเจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า
หลังจากที่พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอูและขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก
พม่าได้ยึดเมืองสิบสองปันนา จากนั้นจึงได้แบ่งเมืองสิบสองปันนาออกเป็น ๑๒ หัวเมือง
ได้แก่ เมืองฮาย เมืองม้าง เมืองหุน เมืองแจ้ เมืองฮิง เมืองลวง เมืองอิงู เมืองลา
เมืองพง เมืองอู่ เมืองอ่อง และ เมืองเชียงรุ่ง จึงเรียกเมืองเหล่านนี้รวมกันว่า
สิบสองปันนา
และในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่าและพระพุทธศาสนาได้เข้าแผ่ขยายเข้าไปในเขตสิบสองปันนา
สมัยรัตนโกสินทร์
ในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
หลังจากพระองค์ได้ส่งทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จากพม่าแล้ว
พระองค์ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเชียงรุ่งและกวาดต้อนพลเมืองชาวไทลื้อในสิบสองปันนา
ไทลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า ชาวไทขึนและชาวไทใหญ่จากเมืองเชียงตุง
มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และน่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า
เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนา
เพราะในช่วงก่อนนั้นพม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์
ไปจำนวนมาก
เชียงรุ่งถูกยื้อแย่งดึงโดยอาณาจักรใกล้เคียงไปมาอยู่ไม่นาน
กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕
ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส เข้ามาขีดเขตอำนาจของตนให้พม่าไปอยู่กับอังกฤษ
สิบสองปันนาอยู่กับจีน เชียงตุงไปกับพม่า และฝรั่งเศสคุมลาว กัมพูชาและเวียดนาม
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่
๒ เมืองเชียงรุ่งถูกยุบจากเมืองหลวงเป็นแค่หัวเมืองและเจ้าปกครองนครทั้งหลายก็ถูกปลด
ในปัจจุบันคนที่มีแซ่เต๋าก็คือเชื้อเจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้
สิบสองปันนา
เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ยิ่ง ด้วยตั้งอยู่ตรงกลางที่ลุ่มหุบเขาริมแม่น้ำโขง
ซึ่งชาวไทลื้อเรียกว่า แม่น้ำล้านช้าง ชาวจีน เรียกว่า แม่น้ำหลันช้าง หรือ
หลันชาง หรือ หลันชางเจียง สิบสองปันนา มีสภาพภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน มีฝนตกชุก
ไม่มีหิมะตก อากาศไม่หนาวเย็นจนเกินไป ผืนดินจึงอุดมไปด้วยป่าไม้เขตร้อน
มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเขียวขจีตลอดทั้งปี
ในผืนป่าก็อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและนกยูง
ที่เป็นเสมือนสัตว์สัญลักษณ์ของสิบสองปันนา
ซึ่งดินแดนอื่นในประเทศจีนอันกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์เช่นนี้
สิบสองปันนาจึงเป็นแหล่งปลูกข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ส่งขายไปยังเมืองอื่นๆ
ในประเทศจีน สิบสองปันนาได้รับสมญานามว่าเป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้
เป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนหนาน
และเป็นดินแดนหนึ่งที่รัฐบาลจีนภาคภูมิใจเพราะทำให้จีนได้ชื่อว่ามีผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล
มีสภาพภูมิประเทศและผืนป่าครบ ตั้งแต่ดินแดนน้ำแข็งแบบขั้วโลกจนถึงป่าเขตร้อนเหมือนเช่นแถบเส้นศูนย์สูตรอย่างผืนป่าสิบสองปันนา
วัดมหาราชฐานสุทธาวาส
หมู่บ้านกาหลั่นป้า
เมืองฮำ หรือ กาหลั่นป้า
ชุมชนไทลื้อที่ใหญ่แห่งหนึ่งของสิบสองปันนา ห่างจากเชียงรุ่งประมาณ ๒๗ กิโลเมตร
ในตอนเช้า ตลาดเช้าของกาหล่านป้านับเป็นตลาดขนาดใหญ่
ที่ยังพบเห็นวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่เต็มไปด้วยสีสันแห่งหนึ่งที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน
ในตลาดเต็มไปด้วยสินค้าตั้งแต่ผักสดหลายชนิดมาวางขายกัน มีผลไม้มากมาย เช่น ท้อ
แอปเปิ้ล ลูกไหน ลิ้นจี่ เครื่องเทศ สมุนไพร และเครื่องยาจีน ไว้ขายมากมาย
จากตลาดเลยเข้าไปเที่ยวชม
หมู่บ้านวัฒนธรรมไทลื้อ ซึ่งหมู่บ้านนี้แม้จะเป็นหมู่บ้านที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวไทลื้อโดยเฉพาะ
แต่ก็ต้องชมว่าเขายังคงรักษารูปแบบของหมู่บ้านดังเดิมไว้เป็นอย่างดี
นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปเที่ยวชมในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะปลูกเรือนใต้ถุนสูงหลังคาดินตามแบบฉบับของชาวไทลื้อ
ภายในบ้านมีบริเวณรอบเรือนไว้ปลูกผัก เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ชะอม
ไว้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องไปหาซื้อที่ตลาด
และยังปลูกผลไม้พื้นบ้านอย่างขนุน มะม่วง ไว้เป็นร่มเงาและกินลูก ใต้ถุนบ้านใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือการเกษตรและนั่งทำงาน
เช่น จักตอก ทอผ้า แต่ละหลังสะอาดสะอ้านหน้าอยู่
บางหลังมีแผงขายของที่ระลึกไว้ให้เลือกซื้อกัน
บ้านบางหลังมีป้ายเชื้อเชิญให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเยี่ยมชมบนบ้าน
บางบ้านมีสาวตัวดีแต่งกายชุดไทลื้อเป็นผู้เชื้อเชิญ “ตัวดี” นั้นภาษาไทลื้อเรียกกันอย่างยกย่องชมเชยว่า
“รูปสวย หรือ รูปหล่อ” คำทักทายจะทักทายกันว่า
“สาวตัวดี
หรือ บ่าวตัวดี” จึงเป็นคำที่สุภาพหมายถึง
สาวคนสวย หรือ หนุ่มรูปหล่อ
หลังจากเชื้อเชิญขึ้นเรือนแล้ว
แม่สาวตัวดีก็รินน้ำชาต้อนรับ พร้อมทั้งชี้ชวนให้ดูภายในเรืองของชาวไทลื้อที่มีลักษณะเปิดโล่ง
แบ่งส่วนหนึ่งของเรือนที่ต่อกับนอกชานเป็นครัวโถงโล่งมีพื้นที่เอนกประสงค์ไว้รับแขกตั้งวงกินข้าว
นั่งเล่น นั่งคุยกัน จะมีการกั้นห้องก็เฉพาะห้องนอน
แต่ก็เป็นห้องนอนรวมของสมาชิกทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ลูกสาว ลูกชาย
แต่จะมีพื้นที่กางมุ้งกันคนละมุม โดยสีของมุ้งจะต่างกัน ผู้สูงอายุนอนมุ้งสีดำ
คนที่แต่งงานแล้วนอนมุ้งสีแดง ส่วนสาวๆ ที่ยังไม่แต่งงานจะนอนมุ้งสีขาว
วัฒนธรรมของไทลื้อนั้นผู้หญิงจะเป็นใหญ่ในครอบครัว
ผู้ชายที่แต่งงานกับสาวไทลื้อจะต้องเป็นเขยของบ้านหญิงสาว และหากชายหนุ่มคนใดติดอกติดใจลูกสาวบ้านใด
ก็จะต้องไปกินไปนอนไปอยู่ช่วยทำงานที่บ้านสาวผู้นั้นเป็นเวลา ๓ ปี
เพื่อดูว่าสู้งานและขยันขันแข็งเพียงใดก่อนที่จะได้แต่งงาน
และยังต้องถูกกันให้กางมุ้งนอนคนเดียวอยู่กลางห้องโถง
ไม่ได้มีสิทธิ์เข้าไปนอนในห้องเหมือนสมาชิกในบ้านคนอื่นๆ สำหรับหนุ่มที่สวมแว่นสายตามีสิทธิพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่ลดเหลือการไปช่วยงานบ้านหญิงสาวแแค่ปีครึ่ง
เพราะคนที่สวมแว่นตาคนไทลื้อคิดว่าเป็นคนที่มีความรู้
หมู่บ้านกาหลั่นป้า
เป็นที่ตั้งของวัดมหาราชฐานสุทธาวาส หรือที่ชาวไทลื้อเรียกว่า วัดสวนม่อน
ซึ่งหมายถึงสวนดอกไม้ วัดแห่งนี้มีอายุเก่าแก่กว่า ๑,๔๐๐ ปี มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ถึง ๖
ครั้ง นับเป็นวัดที่มีศิลปะสถาปัตยกรรมไทลื้อที่สวยงามยิ่งแห่งหนึ่ง เมื่อครั้งปฏิวัติวัฒนธรรมสมัยเหมา
เจ๋อ ตุง ที่มีการเผาทำลายวัดวาอารามครั้งใหญ่โดยกองทัพแดง
ชาวไทลื้อในหมู่บ้านที่มีความผูกพันและหวงแหนวัดแห่งนี้เป็นอย่างยิ่งได้ชวนกันนำพระคัมภีร์ของวัดไปซุกก่อน
แล้วแกล้งปล่อยให้เป็นวัดร้าง โดยแกล้งนำวัวควายมาผูกเลี้ยงไว้ในวัดและอุโบสถ
เหมือนไม่ได้เคารพศรัทธา วัดแห่งนี้จึงรอดพ้นจากการถูกเผาทำลายมาได้จนปัจจุบัน
นักวิจัยเก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัย
โดยสัมภาษณ์พระบ้าง ชาวบ้านบ้าง เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเส้นทางสาย R3A ต่อวิถีชีวิตสังคมและวัฒนธรรมขงชาวไตลื๊อ
ผู้เขียนสัมภาษณ์พระ ข้อมูลที่ได้ก็หลายหลายทั้งด้านบวกทั้งด้านลบ
ชาวบ้านบางคนก็ชอบ เพราะทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวมากขึ้น
แต่บางคนก็ไม่ชอบเพราะทำให้วิถีชีวิตของชาวบ้านยากลำบากขึ้น
สวนป่าดงดิบ มีการโชว์สวนสัตว์ โชว์นกยูง
โชว์วัฒนธรรมชนเผ่า
แบ่งออกวันละ ๒ รอบ
คือรอบเช้าและรอบบ่าย
ทัวร์สิบสองปันนา
เมื่อเดินทางมาถึงเมืองเชียงรุ่ง
สิ่งที่ทุกคนต้องมาดูก็คือการโชว์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดังนี้
๑.โชว์สิงโตและโชว์เสือ
เมื่อเดินทางมาถึงสวนป่าดงดิบก็จะมีสาว ๆ แต่งชุดสวย ๆ หลากสีสันมาคอยต้อนรับ
จากนั้นก็มีการโชว์สิงโตและโชว์เสือ เป็นการเรียกน้ำย่อยกันกัน
๒.โชว์การเรียกนกยูงจากภูเขา
หลังจากดูโชว์สัตว์กันเรียบร้อยก็นั่งรถรางไฟฟ้าไปยังจุดที่
๒ ซึ่งเป็นการเรียกนกยูงลงมาจากภูเขา นกยูงหลายร้อยตัวต่างก็บินลงมามากมาย
๓.โชว์วัฒนธรรมชนเผ่า
๔.โชว์การแสดงพิธีแต่งงานของเผ่าอีก้อ
สำหรับโชว์ชุดนี้หากนักท่องเที่ยวเข้าไปร่วมแสดงกับเขาด้วยก็ต้องจ่ายเงิน ๕๐ หยวน
(ในวันที่ไปไม่มีการแสดงนี้)
ทัวร์สิบสองปันนา
สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ โชว์เมืองพาราณสี
หากใครไปสิบสองปันนาแล้วไม่ได้ดูโชว์ชุดนี้
ก็เหมือนกับว่ายังไปไม่ถึงเมืองสิบสองปันนา สำหรับการโชว์เมืองพาราณสี
เป็นการนำเสนอถึงพระพุทธศาสนาที่เดินทางเข้ามาถึงเมืองสิบสองปันนา
การแสดงงานประเพณีสงกรานต์ และการโชว์ถึงวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆมากมาย
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสิบสองปันนา ดูสวยงามและอลังการครับ สำหรับราคาค่าเข้าชม
๑๒๐ - ๑๖๐
หยวน หากใครไปถึงเมืองเชียงรุ่งแล้วไม่ได้ดูชุดแสดงเมืองพาราณสีแล้ว
คงบอกได้คำเดียวว่ามาไม่ถึงเมืองสิบสองปันนา ก่อนที่จะเข้าไปชมภายในโรงละคร
ก็มีการแสดงเรียกน้ำย่อยที่หน้าโรงกันก่อน
มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีและวีถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ สาว ๆนักแสดงก็แต่งชุดเอวลอย
โชว์สะดือกันเต็มที่ และสีลาการตีกลองสะบัดชัย
วัดหลวงเมืองลื้อ
สิบสองปันนา ซึ่งบริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน
ได้ทุ่มเงินลงทุนเองถึง ๓๕๐ ล้านหยวน เพื่อสร้างวัดนิกายหินยานหรือเถรวาท
และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้ มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๔๘ สืบเนื่องจากตระหนักดีว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมีประวัติอันยาวนานในสิบสองปันนาพอ
ๆ กับในแถบเอเชียอาคเนย์ เช่นไทย ลาว กัมพูชา พม่า
สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่แสดงวัฒนธรรมทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตกทอดมาช้านานแล้ว
ยังจะเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยศาสนาพุทธสิบสองปันนา เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาวิจัยศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
และท้ายสุด จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
อีกทั้งยังเป็นสถานที่ชาวไต
หรือไทลื้อในแถบเอเชียอาคเนย์ได้สืบค้นเรื่องราวบรรพบุรุษของตัวเองได้
นอกเหนือจากที่สามารถสืบค้นจาก
“ชุมนุมพระคัมภีร์อักษรธรรมใบลาน”
ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานของนิกายเถรวาทที่มีอยู่อย่างแพร่หลายตามวัดวาอารามในสิบสองปันนา
ที่ได้รับการรวบรวมชำระขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งที่ครบถ้วนที่สุด
แล้วพิมพ์เป็นอักษรไทลื้อเก่า ไทลื้อใหม่ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ รวม ๖ ภาค
แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ เชื่อว่าวัดหลวงเมืองลื้อจะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวเลื่องชื่อของสิบสองปันนาในอนาคต
ไม่ใช่สำหรับชาวพุทธนิกายเถรวาทเพียงอย่างเดียว
อันเนื่องจากวัดนี้ได้สร้างอย่างสวยงามบนเนื้อที่หลายพันไร่ริมเชิงเขา
โดยผสมผสานศิลปะพุทธทั้งหินยาน มหายาน และทิเบต รอบๆ วัดจะมีท้าวจตุรบาลแบบจีนยืนตระหง่านอยู่สุดเชิงบันไดนาค
ตรงกลางของที่พักช่วงแรกเป็นที่สถิตของพระพรหมสี่หน้าองค์ทองอร่าม
ถัดขึ้นไปพระพุทธรูปปางประสูติ ซึ่งเป็นรูปปั้นเด็กมีเพียงผ้าคลุมกายพองาม
ประทับยืนชี้นิ้วชี้ขึ้นฟ้าและลงดิน เหมือนกับเป็นปริศนาปางประสูติ ซึ่งเป็นรูปปั้นเด็กมีเพียงผ้าคลุมกายพองาม
ประทับยืนชี้นิ้วชี้ขึ้นลงดิน
เหมือนกับเป็นปริศนาธรรมให้ขบคิดในส่วนของตัวโบสถ์ได้สร้างด้วยศิลปะผสมผสานกันระหว่างไทลื้อ
พม่า ลาว แถมยังมีลวดลายคล้ายลายประจำยามและลายขนดแบบของไทยสอดแทรกอยู่
ภายในเป็นจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่เล่าเรื่องพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติเรื่อยไปจนถึงปรินิพพาน
การผสมผสานของนิกายเถรวาท
มหายานแบบจีนและทิเบตยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเริ่มพิธีเบิกเนตร
เพราะจะเริ่มด้วยการสวดของพระนิกายมหายานแบบจีนก่อน ตามด้วยการสวดของพระทิเบต
และท้ายสุดการสวดของพระนิกายเถรวาท ๑๐๘ รูปที่รัฐบาลจีนเชิญจากวัดต่าง ๆ
ทั่วประเทศ
ดินแดนแห่งนี้เป็นแดนพุทธ
เพราะแม้จะมีหมู่บ้าน ๖๐๐ หมู่บ้านแต่ก็มีวัดถึง ๕๗๗ แห่งหรือเฉลี่ยหมู่บ้านละ ๑
วัด มีเจดีย์ ๒๑๕ เจดีย์ อย่างไรก็ดี คนที่เป็นชาวพุทธแท้ ๆ ก็ต้องทำใจให้ได้
หากได้รับรู้ว่าเจ้าอาวาสสามารถแต่งงานได้เหมือนกับพระในญี่ปุ่น
ขากลับแวะชมโรงงานหยกสิบสองปันนา เลือกซื้อเครื่องประดับหยก
จากร้านของชมรมผู้ค้าหยก เมื่อมาถึง
สิบสองปันนาแล้วใครที่มีความเชื่อและศรัทธาในการบูชาปี่เซียะ
ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์มงคล ใครมีไว้จะร่ำรวยเงินทอง
เพราะสัตว์ในตำนานของจีนชนิดนี้ มีปากใหญ่ท้องใหญ่ แต่ไม่มีทวาร
เหมือนคนที่ทำมาหาได้แต่ไม่ต้องใช้จ่าย
ติดไม้ติดมือกลับไปบูชาติดตัวไว้
เคล็ดลับการบูชาเพิ่มความขลังก็มีอยู่ว่า ให้นำปี่เซียะมาแช่น้ำ
เพราะคนจีนมีความเชื่อว่าปี่เซียะเป็นสิ่งที่ดูดความชั่วร้ายและไม่ดีออกจากตัวเรา
และทุกวันต้องเล่น พูดคุย เรียกชื่อเหมือนลูก สิ่งสำคัญ คือห้ามเผลอไปลูบทวารทั้ง
๓ ได้แก่ ตา จมูก และปาก เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปี่เซียะมองไม่เห็นสิ่งไหนดีไม่ดี
ดมกลิ่นไม่ได้ และไม่สามารถดูดโชคลาภ เงินทองให้เจ้าของได้เลย
และปี่เซียะที่มีเจ้าของแล้วห้ามไม่ไห้คนอื่นเล่น ยกเว้นคนในครอบครัว
แวะชมศูนย์วิจัยยาสมุนไพรสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งประเทศจีน
ซึ่งมีประวัติว่า “เป็นศูนย์วิจัยที่รัฐบาลจีนสร้างขึ้น
เพื่อวิจัยยาสมุนไพรแพทย์แผนโบราณจีนและยาสมุนไพรของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ เฉพาะ
เนื่องจาสถาบันได้ทำคุณูปการสำหรับวิจัยยาสมุนไพรแพทย์แผนโบราณ สมเด็จพระเทพ ฯ
เคยได้เสด็จมาที่นี่ ๒ ครั้ง และได้ทรงปลูกต้นเลือดมังกรต้นหนึ่ง
ซึ่งเป็นยาที่มีชื่อว่า “ยาศักดิ์สิทธิ์บำรุงเลือด” ต้นยานี้ยังเป็นมิตรภาพระหว่างประเทศไทยและจีน”
เพื่อตรวจสุขภาพของท่านตามภูมิปัญญาแพทย์แผนจีนโบราณ ชมการสาธิตการใช้มีดสิบสองปันนา
สินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของชาวไทลื้ออย่างเดียวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากรัฐบาลปักกิ่ง
รวมทั้งซื้อชาผู่เห่อ เป็นชาที่ดีที่สุดในสิบสองปันนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น