ยามรุ่งสาง พาราณสีตื่นจากการหลับใหล
ผู้คนกว่า 60000 คน ต่างไปรวมตัวกันที่ปากแม่น้ำคงคา
เพื่อชำระล้างกายาด้วยน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ในยามเช้า พวกเขาไม่แยแสกับน้ำเสีย เสียงพูดอึกทึกโครมคราม
จำนวนฝูงชนมหาศาล ตลอดจนเถ้ากระดูกคนที่เหลือจากพิธีเผาในน้ำนั้น
ต่างพากันเข้าพิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์กันถ้วนหน้า
พาราณสีเป็นศูนย์กลางของศาสนาฮินดู
ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำคงคา รัฐอุตรประเทศ ทางตอเหนือของอินเดีย
มีประชากรอาศัยอยู่ที่นี่ราวสามล้านคน
นักท่องเที่ยวและผู้แสวงบุญมักมาเยือนเมืองแห่งนี้อยู่ไม่ขาด
ประวัติศาสตร์เมืองพาราณสีไม่ใช้เส้นทางท่องเที่ยว หากแต่อยู่ที่วิถีชีวิตของชาวเมือง
สิ่งนี้นำพาให้ พาราณสีเป็นที่ที่ยากจะค้นเจอในความเป็นสมัยใหม่
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า
พาราณสี มีอายุราว 3000 ปี แต่ผู้ที่ศรัทธาเมืองแห่งนี้เชื่ออีกอย่าง
พวกเขา เชื่อว่า พาราณสี ก่อตั้งโดยพระศิวะ เมื่อราว 5000 ปี
ด้วยเหตุนี้เอง เมืองแห่งนี้จึงเชื่อกันว่าเป็นเมืองของศาสนาฮินดู
ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก เป็นอันดับที่ 7
ชีวิตในศูนย์กลางเมืองเก่ารอบแม่น้ำ
อย่างเช่นที่เมืองพาราณสี แม่น้ำคงคาเต็มไปด้วยมลพิษและจุดอาบน้ำสำคัญในเมือง
(สร้างเป็นบันไดลงไปสู่แม่น้ำ) เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ
นอกเหนือจากพิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว จุดอาบน้ำยังเป็นลานซักผ้าชุมชน
ซึ่งจะมีผู้หญิงง่วนอยู่กับการซักผ้าอยู่ทุกวัน
เสื้อผ้าแต่ละผืนจะถูกทุบด้วยท่อนไม้ มีแผ่นไม้เรียบเป็นที่รอง
ก่อนจะนำไปกองกันไว้ ผ้าส่าหรีหลากสีสดสวยถูกวางเรียงรายตามขั้นบันไดเพื่อทิ้งไว้ให้แห้ง
ผ้าเหล่านี้จัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบเป็นผืนเดียวกัน และดูราวกับป้ายโฆษณา
ตามฝั่งแม่น้ำ
เรือหาปลาจอดกันเป็นกลุ่ม สีของเรือซีดไม่แพ้อาคารที่อยู่เบื้องหลัง
มีเพียงแถบที่เกิดจากสีที่นำมาป้ายบริเวณขอบเรือเท่านั้นที่ยังสดอยู่
เรือลำเล็กมองดูแล้คล้ายม้าที่มีเชือกผูกติดกัน
เรือที่ดูคล้ายม้าเหล่านั้นใช้จมูกขวิดกันทุกครั้งที่มีน้ำซัดมา
มีชาวเมืองบางคนทำโยคะบนพื้นที่ไม่ราบเรียบสูงจกแม่น้ำขึ้นไปขณะที่อีกหลายคนสำรวมจิตนั่งสมาธิ
หากต้องการมองเห็นวัฏจักรชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายโดยรอบแม่น้ำ
หาเรือสักลำแล้วล่องแม่น้ำคงคา ตลอดระยะทางเจ็ดกิโลเมตรตลอดความยาวของแม่น้ำ
จากแม่น้ำคงคา
ประวัติศาสตร์ยังคงเชื้อเชิญเราให้ไปหาในรูปของสถาปัตยกรรมที่ดูโบราณเหลือเกิน
ดูโบราณมากจนแทบเรียกได้ว่าอาจเกิดก่อนประวัติศาสตร์ก็ว่าได้
อาคารบ้านเรือนเหล่านั้นอาจเรียกได้ว่าไม่สวยงามเลย มีความเก่าแก่มาก
เต็มไปด้วยริ้วรอยแตกระแหง แต่นั่นแหละคือความไม่งาม ซึ่งเป็นเสน่ห์ดึงดูดของเมืองนี้
เข้าไปบริเวณผืนดิน
ประชากรชาวเมืองพาราณสีจำนวนมหาศาลสัญจรกันขวักไขว่ ภาพการจราจรนำเราไปสู่ “ห้วงอดีต”
ของวิถีการขนส่งแบบเก่า เช่น รถลาก รถโบราณติดเครื่องยนต์ ด้าน
มีลิงเหวี่ยงตัวไปมาจากหน้าต่างบานหนึ่งไปอีกบาน จากอาคารหลังหนึ่งไปอีกหลัง
วัวควายมีให้พบเห็นทุกที่ เด็กตัวเล็ก ๆ สวมเสื้อผ้าขาดวิ่นยืนอยู่
โดยมีความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรมสีซีดจางอยู่ด้านหลัง
ขณะที่สุนัขหลายตัวกำลังขุดคุ้ยหาเศษขยะอยู่ทั่วไป
ประตูสู่การล้างบาป
การที่พาราณสี
ได้รับการเรียกขานว่าเป็น ประตูการล้างบาปไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด
ลองฟังผู้เฒ่าผู้แก่ที่นั่งสวดมนต์
เพื่อขอให้ตนพ้นวัฏสงสารของการเกิดตายและการกลับชาติมาเกิดใหม่ ลองมองไปที่คนมากมายที่นำของมาทำบุญตามโบสถ์วิหารและตามศาลศักดิ์สิทธิ์
นั่นเถิด
ผู้นับถือศาสนาฮินดูเชื่อว่า
การที่ตนได้มาตายที่พาราณสีเป็นสิ่งที่ดีเลิศ จุดอาบน้ำบางแห่งจึงได้ชื่อว่า “จุดอาบน้ำที่ใช้เผาศพ”
ศพจะนำมาเผากันที่นี่ (อย่างเปิดเผย) ก่อนนำเถ้ากระดูกไปโปรยลงแม่น้ำคงคา เชื่อกันว่า
ศพของหญิงตั้งครรภ์และเด็กไม่จำเป็นต้องทำให้บริสุทธิ์ด้วยเปลวไฟ
แต่จะถูกนำไปห่อผ้าบรรจุหิน แล้วถ่วงไปในแม่น้ำคงคา
จากพิธีกรรมเช่นนี้
เราจะเห็นได้ชัดว่า
พาราณสีไม่ใช่เมืองที่ปรับแต่งให้ขัดความเป็นจริงเพื่อการท่องเที่ยวแต่เป็นเมืองที่เป็นอยู่แบบนี้จริง
สภาพความโบราณทั้งหลายทั้งมวลของที่นี่ มีเสน่ห์ดึงดูใจให้ค้นหา
พาราณสีเป็นศูนย์กลางของจักรวาลวิทยาตามความเชื่อแบบฮินดู
เมืองนี้มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นเวลาหลายร้อยปีนับจนบัดนี้ ประกอบด้วย
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ Kashi Vishwanath Mandir (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิหารทองคำ) และวิหาร Durga ซึ่งสร้างบูชาเทวีของพระศิวะ ผู้เป็นแม่ของพระพิฆเศวร์ ผู้มีศีรษะเป็นช้าง
วิหารนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิหารวานร ตามลิงที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนั้น
นอกจากนั้นยังมีสถูปแบบพุทธศาสนา มัสยิดแบบอิสลาม และวิหารของผู้นับถือศาสนาเชน
ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่บนโลกที่ได้ชื่อว่า
ดำรงความหลากหลายของศาสนาความเชื่อไว้อย่างมากมาย
ในบรรดาสถานที่แสวงบุญเหล่านี้
Kashi Vishwanath Mandir มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด
สถานที่แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะ เพทประจำวิหารมีชื่อเรียกว่า Vishwanatha
มีความหมายว่า เทพผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
วิหารแห่งนี้เคยถูกคุกคามจากข้าศึกถึงสองครั้ง ปัจจุบันที่นี่จึงมีชื่อเสียง
ในฐานะปัอมปราการเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณให้ผู้คน
ตำนานของพาราณสีขจรขจายถึงแดนไกลโพ้น
นักเขียน นักวาดภาพ นักปราชญ์ และนักดนตรีจำนวนมหาศาลต่างได้รับการดึงดูดให้มาเยือนเมืองเก่าแห่งนี้
มาร์ค ทเวน นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวอเมริกัน เคยเขียนไว้ว่า
พาราณสีเก่าแก่กว่าประวัติศาสตร์เสียอีก เก่าแก่กว่าขนบธรรมเนียมประเพณี
เก่าแก่กว่าตำนาน และเก่าแก่กว่าทุกสิ่งที่กล่าวข้างต้นรวมกัน
ที่มา :
จุฑามาส โคมิน. (2554 มกราคม) “พาราณสี.”
ใน Sawasdee. กรุงเทพฯ : คอมฟอร์ม.
หน้า 86-89.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น