วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แฮ็กข้อมูลเอทีเอ็ม

ข่าวแก๊งมิจฉาชีพทางการเงินก่อคดีมีให้เห็นเป็นระยะ จับกุมปราบปรามเท่าไหร่ก็ไม่หมดสิ้นเสียที

ล่า สุดมีเจ้าทุกข์เกือบ 70 ราย แจ้งความที่สน.ลุมพินีว่า เงินในบัญชีธนาคารหาย ภายหลังไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มบริเวณตึกออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ รวมความเสียหายกว่า 6 แสนบาท มีบัตรของธนาคารต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ 5 ธนาคาร

จากการตรวจสอบของธนาคารพบว่ามีการไปกดเงินที่ปลายทางประเทศยูเครน

มาทำความรู้จักภัยจากเครื่องคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์กัน

บัตร อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพพยายามขโมยเงินผู้อื่นด้วยอุปกรณ์ ดังนี้

1.เครื่อง คัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) มิจฉาชีพจะติดตั้งเครื่องคัดลอกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ไว้ที่ช่องเสียบบัตร เพื่อคัดลอกข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนบัตร รวมทั้งนำแป้นกดตัวเลขปลอมครอบแป้นกดตัวเลขของตู้เอทีเอ็ม และใช้กล้องขนาดจิ๋วแอบติดตั้งไว้เพื่อดูรหัสผ่านแล้วนำข้อมูลดังกล่าวไปทำ บัตรปลอม เพื่อถอนเงิน โอนเงิน หรือซื้อสินค้าและบริการในนามของเรา

2.อุปกรณ์ คัดลอกข้อมูล (Scanner) แบบพกพา มิจฉาชีพจะทำการขโมยหรือแอบนำบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตของเรา ไปรูดกับอุปกรณ์คัดลอกข้อมูลชนิดพกพา เพื่อคัดลอกข้อมูลที่อยู่ในแถบแม่เหล็กบนบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต และนำข้อมูลที่ได้ไปผลิตบัตรปลอมสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการในนามของเรา

ข้อควรรู้ในการระมัดระวังและป้องกันเมื่อใช้บัตรและตู้เอทีเอ็มอย่างปลอดภัย

1.เก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม ไว้ในที่ปลอดภัย

2.ก่อนใช้บริการจากตู้เอทีเอ็ม ควรสังเกตช่องสอดบัตร แป้นกดตัวเลขว่ามีการดัดแปลงหรือไม่ หากสงสัยควรเปลี่ยนตู้เอทีเอ็มใหม่ทันที

3.ขณะกดรหัสผ่านยืนชิดตัวเครื่องและใช้มือบังแป้น ระวังไม่ให้ผู้อื่นสังเกตเห็น

4.หากบัตรติดอยู่ในเครื่องหรือสูญหาย รีบแจ้งธนาคารเพื่ออายัดบัตรทันที

5.ควร เก็บบัตรและธนบัตรเข้ากระเป๋าให้เรียบร้อยก่อนออกจากเครื่อง ไม่ควรนำบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็มของเราให้บุคคลอื่น เพื่อป้องกันการถูกนำไปรูดกับเครื่องคัดลอกข้อมูล

6.ไม่จดรหัสผ่านของบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็มไว้ในที่เดียวกัน

7.ไม่ควรกำหนดรหัสผ่านเป็นตัวเลขที่เดาได้ง่าย เช่น วันเดือนปีเกิด หรือใช้รหัสเดียวกันสำหรับบัตรทุกใบ

8.ใน การชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตร ควรอยู่ในบริเวณที่สังเกตการทำรายการได้ และเมื่อรับบัตรคืนต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นบัตรของเรา

9.ตรวจ สอบความถูกต้องของรายการในสลิปบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตทุกครั้ง และควรเก็บสำเนาสลิปไว้ เพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายในภายหลัง แต่หากต้องการทิ้งสลิป ควรฉีกให้เป็นชิ้นย่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำไปใช้ทางทุจริต


ที่มา :
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5ESXlNRFkzT1E9PQ==&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น: