วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์อารยธรรมอีสาน



                  ประวัติศาสตร์อารยธรรมอีสาน                                         

           ไพฑูรย์ มีกุศล. (2532 : 33) กล่าวว่า การดำเนินชีวิตของชาวอีสาน มาจากการนับถือศาสนา โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน พระสงฆ์ในหมู่บ้านมีความสำคัญต่อกิจกรรมทั้งในทางศาสนาและทางโลก ในขณะเดียวกันพระสงฆ์ยังเป็นสัญลักษณ์ของความดีงามที่ชาวบ้านเคารพนับถือและเป็นผู้นำในการปฏิบัติศาสนกิจ ประชาชนในภาคอีสานส่วนใหญ่ก็ยังคงปฏิบัติตามประเพณีเดิมที่บรรพบุรุษเคยปฏิบัติมา เช่น ฮีตสิบสอง คอง (คลองสิบสี่) การนับถือพุทธศาสนาในดินแดนอีสานจึงเป็นการนับถือศาสนาแบบผสม (Syncretism) กับความเชื่อดั้งเดิมคือการเชื่อในเรื่องลัทธิผีวิญญาณ (Animism) เช่น ผีบรรพบุรุษและสิ่งเหนือธรรมชาติและพิธีกรรมจากลัทธิพราหมณ์ จึงเรียกว่าการนับถือพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน (Popular Buddhism)



ไพฑูรย์ มีกุศล. (2532). ประวัติศาสตร์อารยธรรมอีสาน.  มหาสารคาม : โรงพิมพ์
           มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

ไม่มีความคิดเห็น: