วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

วิถีการเคี้ยวหมากของชาวพม่า


 

วิถีการเคี้ยวหมากของชาวพม่า

                                                            แปลโดย ธัญวรัตน์


            คุนยาคือคำในภาษาพม่าหมายถึงประเพณีการเคี้ยวหมากที่มีมาอย่างยาวนาน นิสัยการเคี้ยวหมากมีอยู่ในชาวพม่าเกือบทุดคนแต่แตกต่างออกไปตามภูมิหลังของกลุ่มชาติพันธุ์ ใบพลูจะถูกเคี้ยวและให้น้ำหมากสีแดง พร้อมกับเหลือกากลักษณะคล้ายไม้เนื้ออ่อน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายและทุกบ้าน เคยมีกล่องเครื่องเขินไว้ใช้สำหรับการเคี้ยวหมากเรียกว่า กุนอิด ซึ่งถูกนำมาต้อนรับแขกพร้อมกับบุหรี่พม่าเพื่อสูบ และชาวเขียวสำหรับดื่ม ใบพลูถูกนำมาต้อนรับแขกพร้อมกับบุหรี่พม่าเพื่อสูบ และชาเขียวสำหรับดื่ม ใบพลูถูกเก็บไว้ด้านล่างของกล่องซึ่งดูเหมือนหมวกของกล่องใบเล็กแต่ถาดด้านบนมีกล่องทำด้วยดีบุกและเงินหลายกล่องสำหรับส่วนผสมอื่น ๆ ได้แก่หมาก ปูนขาว สีเสียด ยี่หร่า กรรไกรหนีบหมาก รสชาติที่หวาน (acho) จะเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นแต่คนที่อายุมากขึ้นจะชอบรสชาติของกระวาน กานพลู และใบยาสูบ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมนิสัยการเคี้ยวหมากหรือคำหมากจึงแพร่หลายในพม่า คุณจะไม่พลาดที่จะเห็นร้านค้าเล็ก ๆ หรือแผงเคลื่อนที่ขายคุนยา ตามถนนในย่างกุ้งและเมืองอื่น ๆ พ่อค้าแม่ค้าตามร้านค้าหรือร้านตามแผงมักจะขายคุนยา บุหรี่พม่า บุหรี่พื้นบ้าน หรือนำเข้า กระโถนบ้วนน้ำหมากมีให้เห็นทั่วไป และมีป้ายเขียนว่า “ห้ามบ้วนน้ำหมาก” ติดอยู่ทั่วไปเพราะน้ำหมากทำให้พื้นและผนังสกปรกเต็มไปด้วยหมากสีแดง หลายคนมีคราบน้ำหมากสีแดงที่ฟัน คนอินเดียมักเป็นเจ้าของกิจการแผงขายหมากในเมือง ผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ก็มักจะใช้หมากแทน

            ในสมัยก่อน ชาวพม่าแสดงไมตรีจิตต้อนรับแขกที่มาเยือนด้วย kunhsay-laphet (หมาก บุหรี่ และเมี่ยง) เป็นการแสดงถึงความอบอุ่นต่อบุคคลภายนอกและยิ่งแสดงความเป็นมิตรมากขึ้นในระหว่างที่เคี้ยวหมากไปพูดคุยกันไป เหมือนกับความบันเทิงอย่างหนึ่งในช่วงเวลานั้น ใบพลู หมากเสิร์ฟมาด้วยกันในเซี่ยน หมาก วัฒนธรรมดั้งเดิมและประเพณีนี้ต้องการให้แขกได้รับสามสิ่งนี้ ไม่ว่าเจ้าบ้านจะเสิร์ฟสิ่งอื่นไปแล้วก็ตาม หมากเป็นสิ่งที่ภูมิใจเสนอในบรรดาสามสิ่งที่ต้องใช้รับแขก และในปัจจุบันนี้เซี่ยนหมากยังรับใช้แขกที่มาเยือนในหลาย ๆ บ้าน มิตรภาพของชาวพม่าจะไม่สมบูรณ์หากปราศจาการเสิร์ฟหมากพลู เชื่อกันว่าการเคี้ยวหมากเริ่มในอินเดีย พลูเป็นพืชไม้เลื้อยตระกูลอินโด-มาลายันที่เขียวตลอดปีหรือพุ่มไม้เลื้อย (Piper-betel) มักมีใบลักษณะวงรีเพื่อห่อหมาก

            การเคี้ยวหมากเป็นประเพณีเก่แก่ของชาวเอเชียและยังสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นิสัยนี้หยั่งรากฝังลึกในวิถีเอเซียและถักทอเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ อิทธิพลที่เหมือนแม่เหล็กสำหรับดูดผู้เคี้ยวหมากเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ เพราะทำให้รู้สึกผ่อนคลายทางกายวิถีการเคี้ยวหมากเกิดขึ้นในพม่าก่อนสมัยพะโค (Bagan) ระหว่าง ค.ศ. 1044-ค.ศ. 1287 ในปี ค.ศ. 1147 พระราชินี Saw จารึกลงบนแผ่นหินที่อุทิศ ณ เจดีย์ Kunmi ว่า ข้าวเปลือกที่ประองค์บริจาคให้ใช้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับหมากถวายพระในวัด ผลหมากที่ดีที่สุดปลูกได้ที่ Taungoo ในพม่าตอนล่าง ดังสำนวนยอดนิยมว่า “เหมือนคนที่รักหมากจาก Taungoo” ในส่วนอื่นของประเทศมีส่วนในการผลิตหมากพลู ดังคำกล่าว “ใบพลูที่ Tado-U” ยาสูบที่ Ngamyagyi” หมากที่ Taungoo” “สีเสียดที่ Pyay” Kun, hsay, laphet (หมาก, ยาสูบ และเมี่ยง) ถือว่าเป็นสิ่งของสำคัญสำหรับถวายพระและผู้สูงวัยโดยเฉพาะในสมัยก่อนสาวบริสุทธิ์จะนำเซี่ยนหมากที่ตกแต่งแล้วเรียก kundaung และดอกไม้เคลือบทอง (pandaung) ในขบวนแห่ shinbyu ประวัติศาสตร์พม่ากล่าวถึงประเพณีโบราณในการลงโทษศัตรู ได้มีการร้องขอ “หมากและน้ำดื่ม” ก่อนถูกประหาร

            คำหมากคือใบพลูห่อด้วยปูนขาวเล็กน้อย หมากชิ้นเล็ก ๆ สีเสียดเล็กน้อย และยาเส้น เครื่องปรุงที่เพิ่มเติมรสชาติ เช่น อบเชย กระวาน ยี่หร่า การบูร กานพลู ชะเอม และมะพร้าวแห้ง ใส่เพิ่มสักเล็กน้อย คำหมากจะถูกเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้มและเคี้ยวจนละเอียดจนได้น้ำสีแดงพร้อมกับชานหมากที่เหลือ บางครั้งผลหมากมีฤทธิ์พอที่จะทำให้เกิดอาการวิงเวียน และส่วนใหญ่ก็จะบ้วนน้ำหมากออกมา จะช่วยลดพิษจากหมากได้

            หมากมีความหมายพ้องกับความปรารถนาดีและความเพลิดเพลินทางสังคมสำหรับคนพม่า ชายหญิงและพระทุกวัยและทุกตำแหน่งเคี้ยวหมาก คำหมากเป็นของที่ระลึกในการแต่งงานในหมู่บ้านและเซี่ยนหมากเป็นสิ่งสำคัญมากในการแต่งงานแบบจารีต สาวแรกรุ่นในหมู่บ้านทำงานหนัก ระหว่างวันพวกเธอจะทำอาหาร ปลูกผัก และทำความสะอาด ในช่วงเย็นพวกเธอจะปั่นฝ้ายและทอผ้า สาวเหล่านี้มักจะมีเซี่ยนหมากอยู่ข้างเครื่องทอผ้า ตามธรรมเนียมผู้ชายแรกรุ่นจะเดินรอบหมู่บ้านหลังจากพวกเขาทำงานเสร็จจากนั้นจะไปนั่งตามบ้านหญิงสาวเพื่อพูดคุยกัน จากนั้นหญิงสาวจะแดงความสนใจในตัวชายโดยมอบคำหมากที่เธอทำขึ้นเองให้ชายผู้นั้น มันเป็นการแสดงความชอบต่อผู้ชายที่เหมาะกับเธอและเป็นผู้ที่เธอเลือก

            คำหมากยังคงเป็นสิ่งเสริมแต่งความงามของสตรีนานมาแล้วเมื่อหมากถูกเคี้ยว น้ำหมากสีแดงที่ออมมาเป็นเหมือนสีลิปสติกธรรมชาติ นิสัยการเคี้ยวใบพลูในพม่ามีมาเป็นเวลานาน ในสมัยราชวงศ์พม่าการเคี้ยวใบพลูมีบทบาทสำคัญในกิจการด้านการบริหารและนิติบัญญัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อกับการปกครองของศาล ตำแหน่งและสถานะของแต่ละคนในระบอบการปกครองโดยกษัตริย์สามารถแยกได้โดยเซี่ยนหมากที่พวกเขาพกติดตัว ในบรรดาสมบัติประจำชาติ ได้แก่ kun-it หรือ kun-oke ใช้โดยราชวงศ์ มันเป็นภาชนะที่ตกแต่งอย่างดีด้วยอัญมณี สำหรับใส่ใบพลูและเครื่องปรุงรสสำหรับการห่อคำหมาก สำหรับประชาชนทั่วไปเซี่ยนหมากอาจทำจากงานไม้ที่ทาด้วยน้ำมันเคลือบเงาหรือทองแดงตามแต่สถานะ

            มีการกล่าวอย่างกว้างขวางว่าการเคี้ยวหมากทำให้ลมหายใจสดชื่น เภสัชวิทยาของพม่าแนะนำให้ใช้ใบพลูรักษา เสมหะ ลม ไข้ สายตาบกพร่อง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในทางกลับกัน สุขภาพฟันอาจได้รับผลกระทบจากการเคี้ยวหมากซึ่งนำไปสู่โรคมะเร็งที่ลิ้นและลำคอ ปัจจุบันนี้ การเคี้ยวหมากไม่เป็นที่ยอมรับเพราะรอยเปื้อนสีแดงที่ไม่น่ามองตามผนังกำแพง บาทวิถี พื้นต่าง ๆ อาคารสาธารณะ สำนักงาน สวนสาธารณะ และสวน ที่ถูกละเลยจากผู้ที่เคี้ยวหมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เคี้ยวหมากยังคงพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศพม่า

 
ที่มา :

Publisher and Contact

          Centre for Bharat Studies, Research Institute for

          Languages and Cultures of Asia , Mahidol University,

          Phutthamonthon 4 Road, Nakhonpathom 73170,

          Thailand

          Tel : 02-800-2308-14 Ext 3505

          www.bharat.lc.mahidol.ac.th

          E-mail : bharatmahidol@gmail.com

 

ไม่มีความคิดเห็น: