ความหมายของชาติพันธุ์
คำว่า
“ชาติพันธุ์” และ “ชาติพันธุ์วิทยา” เป็นคำใหม่ในภาษาไทย
การทำความเข้าใจเรื่องชาติพันธุ์จำเป็นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับเรื่องเชื้อชาติและสัญชาติ อาจเปรียลเชื้อชาติ สัญชาติ และชาติพันธุ์
ได้ดังนี้
เชื้อชาติ
(race) คือลักษณะทางชีวภาพของคน
ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากลักษณะรูปพรรณ สีผิว เส้นผม และตา การแบ่งกลุ่มเชื้อชาติ
(racial group) มักแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นิกรอยด์ (Negroid)
มองโกลอยด์ (Mongoloid) และคอเคซอยด์ (Caucasoid)
สัญชาติ (nationality) คือ
การเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่งตามกฎหมาย โดยที่ลักษณะทางชีวภาพและวัฒนธรรมอาจแตกต่างกันได้
การเป็นสมาชิกของประเทศย่อมหมายถึงการเป็นประชาชนของประเทศนั้น
ผู้ที่อพยพมาจากที่อื่นเพื่อมาตั้งถิ่นฐานสามารถโอนสัญชาติมาได้
ผู้ที่เปลี่ยนสัญชาติคือ
ผู้ที่เปลี่ยนฐานะจากการเป็นประชาชนของประเทศหนึ่งมาเป็นประชาชนของอีกประเทศหนึ่ง
ชาติพันธุ์
(ethnicity หรือ ethnos) คือ การมีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ภาษาพูดเดียวกัน และเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน เช่น ไทย พม่า
กระเหรี่ยง จีน ลาว เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มวัฒนธรรมมีลักษณะเด่นคือ
เป็นกลุ่มคนที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน บรรพบุรุษในที่นี้หมายถึงบรรพบุรุษทางสายเลือด
ซึ่มีลักษณะทางชีวภาพและรูปพรรณ (เชื้อชาติ) เหมือนกัน
รมทั้งบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมด้วย
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์จะมีความรู้สึกผูกพันทางสายเลือด และทางวัฒนธรรมพร้อม
ๆ กันไปเป็นความรู้สึกผูกพันที่ช่วยเสริมสร้างอัตลักษณ์ของบุคคลและของชาติพันธุ์
และในขณะเดียวกันก็สามารถเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์นับถือศาสนาเดียวกันความรู้สึกผูกพันนี้อาจเรียกว่า
“สำนึก” ทางชาติพันธุ์ หรือชาติลักษณ์ (ethnic identity)
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมายชาติพันธุ์ (ethnos) ว่าหมายถึง “กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา
โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน...
ถ้าจะใช้ให้ถูกต้องจะมีความหมายเฉพาะใช้กับกลุ่มที่มีพันธะทางเชื้อชาติและทางวัฒนธรรม
ประสานกันเข้าจนสมาชิกของกลุ่มเองไม่รู้สึกถึงพันธะของทั้งสองนี้
และคนภายนอกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญจะไม่แลเห็นถึงความแตกต่างกัน”
และพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาให้ความหมาย ชาติพันธุ์วิทยา (ethnology) ว่าหมายถึง “การพินิจศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมปัจจุบัน
หรือวัฒนธรรมเดิมที่สูญหายไปของกลุ่มมนุษยชาติทั้งหลายในโลก
ชาติพันธุ์วิทยาอาจหมายถึงมานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็ได้”
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 23 . (2553). พิมพ์ครั้งที่ 10.
กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรบเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น