หลักการเทศนา การแสดงปาฐกถาธรรม การอภิปรายและการเสวนา
ความหมายของเทศน์
เทศน์ แปลว่า การแสดง การชี้แจง
การชี้ให้เห็นแจ้ง
เทศนา (อ่านว่า เทสะนา
เทดสะหนา)
เทศน์ หมายถึง
การถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟัง
เป็นการเผยแผ่ศาสนาแบบ หนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัยพุทธกาล การเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใด
เพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้
ในขณะที่การเทศนานั้น อาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล
สำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งจะทรงใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดาในประเทศไทย
การเทศน์แบบพิธีการนั้น พระสงฆ์จะนั่งบนธรรมาสน์สูงเพื่อแสดงถึงความเคารพในพระธรรม
ในฐานะที่เป็นหนึ่งในองค์รัตนตรัย การเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ
ของชาวไทยมาช้านาน เช่น วันขึ้นบ้านใหม่ วันแต่งงาน ไปจนถึงงานศพ
และมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เช่น ต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรม
การจุดเทียนส่องธรรม เป็นต้น
พระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจ เรียกว่า เทศน์แหล่
ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยตามจำนวนผู้เทศน์ได้เป็น
เทศเดี่ยว (เทศน์รูปเดียว) และเทศน์สองธรรมาสน์ขึ้นไป
(ปุจฉา-วิสัชนา)
คำว่า เทศน์ หรือการเทศน์แบบพิธีการ
ในความรู้สึกส่วนใหญ่ของคนไทยมักจะเข้าใจว่าเป็นพิธีกรรมการสอนที่เป็นทางการ
เน้นพิธีการและมีรูปแบบตายตัวที่ผู้เทศน์ไม่สามารถใช้ลูกเล่นหรือใช้อุปกรณ์ เช่น
ภาพหรือสื่อประสมมาใช้เพื่อประกอบการเทศน์ได้ ทำให้ในปัจจุบัน
พระสงฆ์มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ด้วยวิธีอื่น ๆ
เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเทศน์ในพิธีการโดยไม่ใช้สำนวนโบราณ
การสอนธรรมะผ่านสื่อต่าง ๆ การแต่งหนังสือ การแต่งเพลงธรรมะ เป็นต้น
ซึ่งการเทศน์ด้วยวิธีหลังจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่า
เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ทำนองแบบเทศน์พิธีการและอาจมีมุขสอดแทรกลงไปทำให้น่าสนใจมากขึ้น
๒. ประเภทการเทศน์แบ่งตามทำนอง การเทศน์ว่าโดยทำนองมี
๒ แบบ คือ
๒.๑ เทศน์ธรรมวัตร คือเทศน์โดยในเสียงและทำนองเป็นปกติเหมือนอ่านหรือพูดธรรมดา
ไม่ได้ออกเสียงและทำนองไพเราะด้วยการขับขาน
มุ่งให้เข้าใจในเนื้อหาธรรมะเพื่อให้นำไปปฏิบัติได้เป็นสำคัญ เรียกว่า
เทศน์ทำนองธรรมวัตร ก็ได้
๒.๒ เทศน์แหล่ คือเทศน์โดยใช้เสียงและทำนองที่มุ่งความไพเราะเป็นสำคัญ
เช่น เทศน์มหาชาติ เทศน์แหล่
ซึ่งมีทั้งแหล่ในคือ เรื่องในมหาชาติและแหล่นอกคือเรื่องอื่นๆ
ที่นำมาเสริมโดยมุ่งความสุนทรี เช่น แหล่ชมนก แหล่ชมดง
แหล่หญิงม่าย
การเทศน์
ถือเป็นภาระของพระภิกษุที่จะเอื้อประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนิกชนตามศรัทธาและกำลังปัญญาของผู้ฟัง
สำหรับงานมงคล ส่วนใหญ่นิยมจัดให้มีกันเฉพาะงานเกี่ยวด้วยการฉลองเป็นพื้น
นิยมทำเป็นรายการสุดท้ายของงานทำบุญ ถ้าเป็นเทศน์ธรรมดามีได้ท้ายรายการ
ทั้งก่อนเพลและหลังเพล เพราะเทศน์ธรรมดาใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง
แต่ถ้าเป็นเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา นิยมมีตอนหลังเพล เพราะเทศน์หลายธรรมาสน์
ใช้เวลาตั้งแต่สองชั่วโมงขึ้นไป ส่วนงานอวมงคล นิยมมีเทศน์ผนวกงานได้ทุกกรณี
ทั้งชนิดเทศน์ธรรมดาและเทศน์ปุจฉา-วิสัชนา
มีระเบียบพิธีดังนี้
๑) ฝ่ายเจ้าภาพ อาราธนาพระผู้แสดง
แจ้งความประสงค์ว่า จะให้แสดงเรื่องอะไร
นิยมทำเป็นหนังสืออาราธนาแบบเดียวกับอาราธนาเจริญพระพุทธมนต์
ในวันงานเมื่อการตั้งธรรมาสน์และการอื่น ๆ พร้อมแล้ว
เจ้าภาพจุดเทียนใหญ่แล้วนำไปตั้งบนธรรมาสน์หรือจุดเทียนประจำธรรมาสน์
เป็นสัญญาณเริ่มมีเทศน์ เมื่อพระขึ้นธรรมาสน์เรียบร้อยแล้ว
ถ้าเทศน์มีต่อจากการเจริญพระพุทธมนต์หรือสวดมนต์เย็นต่อเนื่องกันและได้มีการอาราธนาศีลก่อนเริ่มบุญพิธีมาแล้ว
ก็ไม่ต้องอาราธนาศีลก่อนเทศน์ เริ่มต้นด้วยอุบาสกอาราธนาธรรมและเริ่มแสดงธรรมเลย
แต่ถ้ามีเทศน์ต่อจากการถวายพระ การมีเทศน์ต่อถือว่าเป็นบุญพิธีตอนใหม่
ให้เริ่มต้นด้วยอุบาสกอาราธนาศีล พระให้ศีลและรับศีล
จบแล้วอาราธนาธรรมแล้วจึงเริ่มแสดงธรรม เมื่อจบการแสดงธรรม
ถ้ามีสวดธรรมคาถาต่อท้ายในงานศพ เจ้าภาพต้องจุดธูปเทียนบูชาหน้าพระสวดด้วย
สวดจบแล้วถวายไทยธรรม
พระอนุโมทนาและกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธีฝ่ายเจ้าภาพ
๒) ฝ่ายพระผู้เทศน์ เมื่อรับอาราธนาแล้ว
พึงเตรียมและจัดการตามสมควร เมื่อถึงวันแสดง จะต้องเตรียมคัมภีร์ใบลาน
ห่อผ้าสำหรับห่อหรือใส่ตู้คัมภีร์กับพัดสำหรับให้ศีลและอนุโมทนาไว้ให้พร้อม
เมื่อไปถึงบริเวณงาน มีธรรมเนียมพิธีโบราณอย่างหนึ่งว่า
ศิษย์ผู้ติดตามจะต้องแบกคัมภีร์พาดบ่าซ้าย
ประคองคัมภีร์ด้านล่างด้วยมือซ้ายอย่างท่าแบกอาวุธของทหาร
มือขวาถือพัดตั้งทาบกับตัว ห้อยมือลง เดินนำหน้าพระเข้าสู่บริเวณพิธี
ธรรมเนียมนี้ถือกันว่า เป็นการยกย่องพระธรรมให้อยู่หน้าพระสงฆ์
ฝ่ายเจ้าภาพต้องคอยต้อนรับ ถ้ายังไม่ถึงเวลาเทศน์
ให้วางคัมภีร์ไว้ในที่ที่อันสมควรก่อนหรือจะวางบนธรรมาสน์เลยก็ได้
ให้วางไว้ข้างขวาของพระผู้เทศน์ เมื่อได้เวลา เจ้าภาพจุดเทียนประจำธรรมาสน์
พระผู้เทศน์ก็ถือพัดขึ้นธรรมาสน์ วางพัดไว้ข้างซ้าย ปกตินิยมนั่งพับเพียบ
แต่จะนั่งขัดสมาธิก็ได้ เมื่อเจ้าภาพกล่าวคำอาราธนาธรรม ก็คลี่คัมภีร์แสดงธรรมต่อไป
มีระเบียบการแสดงธรรมดังนี้
-
จับคัมภีร์ใบลานขึ้นประคองระหว่างมือทั้งสองที่ประนมแค่อก
แล้วบอกศักราชตามธรรมเนียม ทั้งคำบาลีและคำแปล
- พอจบคำบอกศักราช ก็ตั้ง นโมฯ เทศน์
คงประนมมืออยู่อย่างเดิม ถ้าเทศน์อ่านคัมภีร์ให้คลี่มือแยกห่างจากกันในขณะจะตั้ง
นโมฯ ครั้งที่สาม แล้วใช้นิ้วแม่มือทั้งสองพลิกใบลานเริ่มอ่านนิเขปบท ให้ติดต่อกับ
นโมฯ ต่อจากนั้นก็อ่านแสดงไปจนจบ
- เทศน์จบแล้วเก็บใบลานเข้าที่เดิม
แล้วตั้งพัดอนุโมทนาด้วยบท ยถา ฯลฯ บนธรรมาสน์ แต่ถ้าเป็นเทศน์งานอวมงคล
มีพระสวดรับเทศน์ต่อท้าย ไม่ต้องยถาฯ บนธรรมาสน์ถือพัดลงมานั่งอาสนะข้างล่าง
รออนุโมทนาเมื่อเจ้าภาพถวายไทยธรรมแล้วพร้อมกับพระสงฆ์ที่สวดรับเทศน์
เป็นอันเสร็จพิธี
การเทศน์ปุจฉาวิสัชนา คือ เทศน์สองรูป
ผู้อาวุโสให้ศีลและบอกศักราช
อีกรูปหนึ่งแสดงอานิสงส์หน้าธรรมาสน์ตามธรรมเนียมแล้วสมมติหน้าที่
ต่อจากนั้นจึงเริ่มเรื่อง ปุจฉา-วิสัชนากันจนจบ
แล้วรูปปุจฉาหรือรูปอาวุโสสรุปท้ายเทศน์ จบแล้วอีกรูปหนึ่ง ยถา ฯลฯ สพฺพีติโย ฯลฯ
เป็นเสร็จพิธี
ถ้าเทศน์มากกว่าสองรูป
ให้ผู้เทศน์ตกลงแบ่งหน้าที่ดำเนินพิธีกันก่อนขึ้นธรรมาสน์
การมีเทศน์ตามกาลนิยม
การมีเทศน์ตามกาลนิยมคือ การเทศน์ในวันธรรมสวนะและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ
เช่น วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันมาฆบูชาและวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น
การเทศน์ตามกาลนิยมปรกติมีในวัด มีระเบียบพิธีดังนี้
๑) เมื่อถึงกำหนดเทศน์
อุบาสกจุดธูปเทียนประจำธรรมาสน์ แล้วพระผู้เทศน์ขึ้นธรรมาสน์
๒) ถ้าเป็นการเทศน์กัณฑ์เช้าที่นิยมเรียกกันว่า
กัณฑ์อุโบสถ ต้องให้ศีลตามอาราธนา บอกศักราช
แต่ถ้าเป็นกัณฑ์บ่ายหรือกัณฑ์ในเวลาอื่น ไม่มีรับศีลและไม่ต้องให้ศีล
ไม่ต้องบอกศักราช เพราะถือว่าได้ทำในตอนเช้าแล้ว
๓) เมื่ออุบาสกอาราธนาธรรมเสร็จ
ก็เริ่มพิธีแสดงธรรมต่อไป
๔) เมื่อเทศน์จบ ถ้าเป็นกัณฑ์อุโบสถ
ไม่ต้องอนุโมทนา ถ้าเป็นกัณฑ์อื่นพึงพิจารณาดูตามควร ถ้ามีถวายไทยธรรม
พึงอนุโมทนาให้เสร็จบนธรรมาสน์แล้วลง ถ้าไม่มีถวายไทยธรรมจะไม่อนุโมทนาก็ได้[๒]
๓. หลักการและวิธีการเทศน์
พระธรรมโกศาจารย์
(ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้อรรถาธิบายเรื่องหลักการและวิธีการเทศน์ว่า ต้องครบเครื่อง
รู้ขั้นตอนการเทศน์ทั้งหมด ใช้อุเทศเป็น ทำนิเทศได้ ปฏินิเทศได้ สรุปจบให้จับใจ
เทศนาจะต้องไพเราะในเบื้องต้น อาทิกลฺยาณํ ด้วยอะไร อุเทศ คือยกหัวข้อขึ้นแสดง
มชฺเฌกลฺยาณํ ไพเราะในท่ามกลางด้วยนิเทศ อธิบายขยายความ
อธิบายขยายความไพเราะในท่ามกลาง แล้วสุดท้าย ปริโยสานกลฺยาณํ ปฏินิเทศ
สรุปจบประทับใจ ก็คือ ไพเราะในที่สุด
นี่คือ วิธีการเทศน์ อุเทศ
(อุเทศ ตั้งนโมฯ ห้าชั้น ภาษิต-บาลีนิกเขปบท อารัมภกถา) อุเทศ ที่แปลว่า
ยกหัวข้อนี้ จะมี ๓ ส่วน
๑. ตั้งนโม
ผู้เทศน์ต้องตั้งนโม ๕ ชั้น ให้เป็น
๒. บาลีนิกเขปบท ต้องมีบาลี
เวลาเทศน์ต้องมีบาลีอ้าง เรียกว่า นิกเขปบท ตั้ง
ยกพุทธศาสน-สุภาษิตมาเป็นภาษาบาลี
๓. อารัมภกถา คำปรารภ
เหมือนแต่งเรียงความ ต้องมีคำปรารภ ต้องมีคำเริ่มต้น
๓.๑ การตั้งนโมฯ เทศน์
นโมฯ สามชั้น คือ นโมฯ
ให้ศีล คือ หยุดหายใจ ๓ ครั้ง เรียกว่า นโมฯ สามชั้น
นโม ตสฺส
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโม ตสฺส
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
นโมฯ ห้าชั้น หยุดหายใจ ๕
ครั้ง
- นโม ตสฺส
ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโม ตสฺส -
- ภควโต อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
- นโม ตสฺส ภควโต
- อรหโต สมฺมา -
- สมฺพุทฺธสฺส
เหมือนไหว้ครู ถ้าตั้งนโมฯ ดี
แสดงว่า ไหว้ครูดี ครั้นตั้งนโมฯ ห้าชั้นเสร็จ ต้องตั้งบาลีทันที
ตัวอย่าง
ตีณิมานิ ภิกฺขเว อาธิปเตยฺยานิ
กตมานิ ติณิ อตฺตาธิปฺเตยฺยํ โลกาธิปฺเตยฺยํ ธมฺมาธิปฺเตยฺยยนฺติ
ติ ตัวสุดท้ายให้ออกเสียง
ยันตี....ติ ลากเสียงนิดหน่อย แต่ไม่ต้องลูกคอยาวมากหรือจะยาวนิดหน่อย
ทำไมต้องมีอิติ ถ้ารู้บาลี ก็หมายความว่า ถ้อยคำเหล่านี้ เป็นคำอ้างมาจากพระไตรปิฎก
ไม่ได้คิดขึ้นเอง นักปราชญ์หรือพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้อย่างนั้น
แล้วท่านก็ต่อด้วยอารัมภกถา เป็นแบบนี้ ตัวอย่าง
. . . ณ บัดนี้ อาตมภาพ
(ไม่ใช่อาตมา อาตมาภาพ) จักรับประทานแสดงธรรมพระเทศนา ในอธิปไตยกถา
เพื่อเป็นเครื่องประดับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมี เพิ่มกุศลราศี
ของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายผู้มาประชุมกัน ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
เนื่องในพิธีบำเพ็ญกุศล ในวันธัมมัสสวนะ คือ วันพระ
ตามสมควรแก่เวลาสืบไป
๓.๒ หลักการใช้อุเทศ
ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนา . . .
ทำไมรับประทาน ก็เวลางานหลวง ใช้คำว่า
รับพระราชทาน ถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ชาวบ้านก็คือ รับ อนุญาต นั่นเอง
ขออนุญาตแสดงพระธรรมเทศนา พูดกับโยม ไม่ใช่กิน ประทาน นี่คือ การให้โอกาส
ขอโอกาสในการแสดงพระธรรมเทศนา ในเรื่องนี้ เป็นภาษาเก่า
ท่อนที่สอง เหมือนกันคือ
เพื่อประคับประคองฉลองศรัทธา
มีอยู่ท่อนหนึ่ง มีอยู่คำ ๓ คำ คือ ศรัทธา
ปัญญาและกุศลบุญราศี
แก่ใคร ผู้ฟัง ผู้มาประชุมกัน
พุทธศาสนิกชนผู้มาประชุมกัน ที่ไหน . . . ตามสมควรแก่เวลา
หลังจากที่เราได้หัวข้อแล้ว อธิปไตยกถา
ได้อารัมกถา เป็นอุเทสแล้ว ต่อไปเป็น นิเทศ
๓.๓ หลักการใช้นิเทศ
นิเทศมีอยู่แล้ว
แต่ใครจะมีมากน้อย เสนอไว้มีอยู่ ๖ ข้อ ด้วยกัน ดังนี้
๑. อรรถาธิบาย
จะต้องเริ่มด้วยการนิยามความหมาย แล้วก็อธิบายคำนิยามนั้น
การนิยามก็คือการให้คำจำกัดความ เช่น อธิปไตย แปลว่า อะไร หรือคำแปลก็ได้
แล้วอธิบายคำแปล
๒. ขยายจำแนก
ขยายความจากอุเทศ
๓. สอดแทรกภาษิต
มีการยกภาษิตประกอบ เพื่อจะได้ขยายความชัดเจน
๔. ข้อคิด - อุปมา
คือการเปรียบเทียบ มีการเทียบเคียง แสดงตัวอย่างให้ชัด
๕. นิทาน - สาธก คือ
เรื่องที่เล่ากันมา สาธกก็คือ เหตุการณ์จริงที่เอามาอ้างให้เห็น จะใช้นิทานก็ได้
นิทานก็คือเรื่องชาดกในอดีต สาธก คือ การยกตัวอย่าง
๖. ยกสื่อ - อุปกรณ์
สื่อคือติดต่อถึงกัน เครื่องช่วยให้เกิดความเข้าใจ ตัวอย่าง
ณ บัดนี้
อาตมภาพจักแสดงพระธรรมเทศนา ในอนิจจกถา ว่าด้วยความไม่เที่ยง
เนื่องในงานบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพ ท่านพระครูเจ้าอาวาส
ในยามที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ท่านพระครูก็สอนเทศน์ญาติโยมทั้งหลาย ณ บัดนี้
ท่านมรณภาพไปแล้ว อย่านึกว่าท่านหยุดสอน ขณะนี้
ท่านกำลังสอนญาติโยมทั้งหลายด้วยการนอนนิ่ง ๆ ว่าโยมทั้งหลาย
ชีวิตก็เป็นอย่างนี้เอง ไม่เที่ยง เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ทุกคนต้องเป็นอย่างอาตมานี้ทุกคน ตอนนี้อาตมาล่วงหน้าไปก่อน
จะไปรอรับโยมในปรภพ
ร่างที่นอนในโลงอยู่ตรงหน้า
แต่ก่อนมาเขาก็เป็นเหมือนเช่นฉัน
อย่างที่ท่านนอนอยู่ไซร์ในโรงนั้น ไม่ช้าพลันฉันก็เป็นเช่นนั้นเอย
ฯ
ประการนี้
คืออุปกรณ์...
๓.๔ การใช้ปฏินิเทศ
ปฏินิเทศ คือ สรุปจบ
เชื่อมธรรมะเข้ากับเหตุการณ์ในงานนั้น เทศน์งานศพ ต้องสอนว่า ในที่สุด
เราเทศน์เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ญาติโยมก็จะต้องพิจารณาว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ว่าเป็นอย่างไร
และให้น้อมนำไปปฏิบัติ สรุปจบให้ประทับใจ ญาติโยมนำไปปฏิบัติกัน
เทศนาปริโยสาเน
ในอวสานเป็นที่สุด แห่งพระธรรมเทศนานี้ ตรงนี้จะมีแบบให้พรอยู่ แล้วลงท้ายด้วย
เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้ แล้วอย่าลืมเอวัง.[๓]
๓.๕. การให้พรเดี่ยว
ครั้นเทศน์จบแล้ว
เก็บใบลานเข้าที่เดิม แล้วตั้งพัดอนุโมทนาด้วยบท ยถา ฯลฯ บนธรรมาสน์
แต่ถ้าเป็นเทศน์งานอวมงคล มีพระสวดรับเทศน์ต่อท้ายไม่ต้อง ยถา ฯ
บนธรรมาสน์ถือพัดลงมานั่งอาสนะข้างล่าง รออนุโมทนาเมื่อเจ้าภาพถวายไทยธรรมแล้ว
พร้อมกับพระสงฆ์ที่สวดรับเทศน์ เป็นอันเสร็จพิธี
๔. เทคนิคและศิลปะการเทศน์
ในการเทศน์นั้น
มีเคล็ดลับและศิลปะสำคัญที่นักเทศน์ควรทำความเข้าใจอยู่ ๓ ประการ
คือ
๑. ทุน หมายถึง
พื้นความรู้และความสามารถที่มีอยู่เดิม ถ้าจะเป็นนักเทศน์ อย่างน้อยต้องมี ๖ ประการ
ดังนี้
-
รู้หลักธรรม - จำหลักสูตร
-
พูดฉะฉาน - ปฏิภาณไว
-
น้ำใจงาม - มีความรอบรู้
๒. ทาง หมายถึง
วิธีเข้าถึงความสำเร็จโดยสามารถ เทศน์ได้ รวมไปถึง เทศน์เป็น การจะทำได้ดังนี้
ต้องมีวิธีการเหล่านี้เป็นแนวทาง คือ
-
มีครูแนะนำ - ท่องจำเทศนา
-
ฝึกว่าปากเปล่า - เข้าใจวางโครง
- ฟัง เขียน เพียร อ่าน -
ปฏิภาณว่องไว
-
จิตใจสงบ - ชอบคบบัณฑิต
-
เกาะติดสถานการณ์
๓. ธรรม หมายถึง
หลักการและอุดมคติของนักเทศน์ การเทศน์ควรปฏิบัติไปตามหลักการ
- เทศนาตามขั้นตอน -
สั่งสอนอย่างมีเหตุผล
-
เมตตาต่อสาธุชน - ไม่กังวลกับเรื่องกัณฑ์เทศน์
- ไม่กระทบตนกระทบท่าน
คือหลักการเทศนา
๕. เตรียมการเทศน์
- เตรียมตัวให้พร้อม
- ซักซ้อมให้ดี
- ท่าทีเตะตา
- กถาเตะหู
-
ตาดูคนฟัง - ท่านั่งผึ่งผาย
-
อธิบายแจ่มแจ้ง - แสดงหลักการ
-
ปฏิภาณว่องไว - จิตใจสะอาด
-
มารยาทยอดเยี่ยม
๖. ปฏิบัติการเทศน์
-
ไปก่อนเวลา - เข้าหาเจ้าหน้าที่
-
คัมภีร์ไม่ขาด - ฉลาดเจรจา (เจ้าภาพ)
- ถามหาข้อมูล
(งาน) - เพิ่มพูนศรัทธา
-
จรรยางดงาม - รูปความแจ่มชัด (ในใจ)
๗. จุดเด่นของนักเทศน์
๑. รูปสะดุดตา รูปโสภา มีกิริยางาม
มีความสะอาด มารยามเรียบร้อย
๒. เนื้อหาสะดุดหู
เนื้อหาสาระสละสลวย ที่ควรสั้นก็สั้น ที่ควรยาวก็ยาว
สัมผัสคล้องจองและเป็นไปตามลำดับ ไม่สับสน
๓. ความรู้สะดุดจิต รู้จริง รู้แจ้ง
รู้กว้าง รู้ลึกและรู้รอบ
๔. ข้อคิดสะดุดใจ แสดงแทรกข้อคิด เช่น
ทุกข์เกิดที่จิต ถ้าเห็นผิดเมื่อผัสสะ คนเก่งทำเคราะห์ให้เป็นโอกาส
คนประมาททำโอกาสให้เป็นเคราะห์
๘. อุดมคติของนักเทศน์
๑. สอนให้จำ ทำให้ดู
อยู่ให้เห็น
๒. สอนตนก่อน
แล้วจึงสอนคนอื่น
๓. ความเป็นนักธรรม
ต้องนำนักเทศน์
๔. ถ้าสอนจากเรื่องที่ตนทำ
ทุกถ้อยคำจะมีฤทธิ์
๕. อย่าลืม คนผอมขายยาพี
หญิงผัวหนีขายยาเสน่ห์
๖. คติว่า จงทำตามที่ฉันสอน
อย่าทำตามอย่างที่ฉันทำ อย่านำมาใช้
๗. สอนอย่างไร
ให้ทำอย่างนั้น
๙. ความหมายของปาฐกถา
ปาฐกถา น. ครั้ง
คราว คำปาฐกถา
ถ้อยคำหรือเรื่องราวทางวิชาการที่กล่าวหรือบรรยายในที่ชุมนุมหรือในห้องเรียนขั้นอุดมศึกษา
เช่น เมื่อกลับมาแล้วท่านให้พวกเราเที่ยวพูดปาฐกถาอภิปรายในแง่ต่าง ๆ
แสดงถึงความสำคัญของเมืองสุโขทัยโบราณ
ปาฐกถา หมายถึง การบรรยาย การกล่าวถ้อยคำหรือเรื่องราวทางวิชาการที่กล่าวหรือบรรยายในที่ชุมนุมหรือในห้องเรียนขั้นอุดมศึกษา
เช่น นักวิชาการกำลังปาฐกถาเรื่องบทบาทของนักวิชาการต่อการบริหารประเทศ[๔]
การแสดงปาฐกถา คือ การพูดถึงความรู้ ความคิด
นโยบายแสดงเหตุผลและสิ่งที่น่าสนใจผู้ที่แสดงปาฐกถา
ย่อมต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในเรื่องนั้น ๆ
การแสดงปาฐกถาไม่ใช่การสอนวิชาการ
แต่มีข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นสอดแทรกและไม่ทำให้บรรยากาศเคร่งเครียด
มีหลักการแสดงปาฐกถาดังนี้
๑.
พูดตรงตามหัวข้อกำหนด
๒. เนื้อหาสาระให้ความรู้
มีคำอธิบายตัวอย่างให้ฟังเข้าใจได้รวดเร็ว
๓.
สร้างทัศนคติที่ดีต่อเรื่องที่พูด
๑๐. ความหมายของการอภิปราย
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของการอภิปรายให้ถ่องแท้เพื่อจะได้เตรียมความคิดและเตรียมตัวได้ถูกต้อง
การอภิปราย หมายถึง การร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วย การอภิปรายที่ได้ยินกันบ่อยปัจจุบัน เช่น
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ
การอภิปรายเรื่องวิกฤติวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น
ปกติจะมีผู้มาร่วมอภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรืออาจเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน
อาจเป็นการอภิปรายในที่ประชุม สำนักงาน กลางแจ้งหรือในสภา
โดยมักเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่
แต่ในระยะเวลาจำกัด
ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้
๑๐.๑ วัตถุประสงค์ของการอภิปราย
การอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่จัดขึ้นมีจุดมุ่งหมายแน่นอน นั่นคือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ เพื่อมาแสดงความคิดเห็น ให้ความรู้ เสนอแนะ โต้แย้งหรือสนับสนุน ด้วยข้อมูลเหตุผล หลักการ ตัวอย่าง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังคล้อยตามหรือเพื่อให้ผู้ฟังคิด ชั่งน้ำหนัก ไตร่ตรอง ฉุกคิดหรือตอกย้ำความเชื่อในแง่มุมเดิมหรือเพื่อให้เกิดความคิดใหม่
การอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่จัดขึ้นมีจุดมุ่งหมายแน่นอน นั่นคือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ เพื่อมาแสดงความคิดเห็น ให้ความรู้ เสนอแนะ โต้แย้งหรือสนับสนุน ด้วยข้อมูลเหตุผล หลักการ ตัวอย่าง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังคล้อยตามหรือเพื่อให้ผู้ฟังคิด ชั่งน้ำหนัก ไตร่ตรอง ฉุกคิดหรือตอกย้ำความเชื่อในแง่มุมเดิมหรือเพื่อให้เกิดความคิดใหม่
ปกติแล้ว หากมีข้อถกเถียง
ปัญหาและความไม่เข้าใจกันของสาธารณชน
หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะจัดการอภิปรายขึ้น
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติและให้ข้อมูลความรู้
เพื่อที่ผู้ฟังจะได้นำความรู้ ความคิดเห็นที่ได้เหล่านี้ ไปไตร่ตรอง
ตัดสินใจดำเนินการ
วัตถุประสงค์ของการอภิปราย
มีดังนี้
๑. เพื่อหาข้อเท็จจริง
๒.
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น
๓.
เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ
๔.
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา
๕.
เพื่อนำข้อมูลความรู้และความคิดเห็นไปประกอบการตัดสินใจ
๖.
เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกร่วมกันของกลุ่ม
๑๐.๒
ลักษณะหรือประเภทของการอภิปราย
โดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะดังนี้คือ การอภิปรายในที่ประชุม การอภิปรายทั่วไป การอภิปรายแบบมีวิทยากรหรือจำกัดผู้ร่วมอภิปราย
โดยทั่วไปมี ๓ ลักษณะดังนี้คือ การอภิปรายในที่ประชุม การอภิปรายทั่วไป การอภิปรายแบบมีวิทยากรหรือจำกัดผู้ร่วมอภิปราย
๑. การอภิปรายในที่ประชุม หมายถึงการเปิดโอกาสให้สมาชิกของที่ประชุมที่มีลักษณะปิด
ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาหรือมติของที่ประชุม
โดยมีประธานในที่ประชุมทำหน้าที่ควบคุมการอภิปราย
หลังจากการอภิปรายอาจมีการให้ลงมติหรือสรุปผลการอภิปราย
โดยที่ประชุมอาจแบ่งออกได้เป็นสามฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วย
ฝ่ายไม่เห็นด้วยและฝ่ายยังไม่ตัดสินใจ การอภิปรายของทุกฝ่ายเป็นไปเพื่อให้เหตุผล
ข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อโน้มน้าวให้อีก ๒ ฝ่ายมาเห็นด้วย
เพื่อให้ที่ประชุมมีความเห็นคล้อยตามหรือลงมติตามที่ฝ่ายตนต้องการ เช่น
การอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องงบประมาณ
เรื่องกระทู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและยาเสพติด ฯลฯ หรือการอภิปรายในที่ประชุมขององค์กร
หน่วยงาน
การอภิปรายในที่ประชุมมีลักษณะพิเศษคือ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น
ให้ข้อมูลความรู้ได้โดยเท่าเทียมกัน โดยถือว่า สมาชิกแต่ละคนมีความรู้
มีสิทธิ์และมีโอกาสอภิปรายได้ เนื่องจากผู้เข้าประชุม มีความรู้
ความเข้าใจงานและประเด็นที่กำลังถกเถียงอภิปรายกันอยู่ค่อนข้างดี
ปกติมักให้มีการแจ้งวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกเตรียมตัวล่วงหน้าได้
๒. การอภิปรายทั่วไป เป็นลักษณะของการอภิปรายที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจปัญหาเดียวกันแสดงความคิดเห็นได้
การอภิปรายทั่วไปทำได้สองลักษณะ คือ ลักษณะแรก
ทำในหมู่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้
ดังเช่น
การอภิปรายในที่ประชุมดังกล่าวข้างต้นหรือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังที่เป็นสาธารณชน
เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ปกติก่อนจะมีการอภิปรายทั่วไป
มักเริ่มต้นให้มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายที่กำหนดบุคคลไว้แล้ว
พูดอภิปรายเสนอความคิดจนครบทุกคนก่อน จากนั้น
ก็เปิดโอกาสให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้
๓. การอภิปรายแบบมีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย ลักษณะนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบันมาก
การอภิปรายแบบนี้มักมีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายประมาณ ๒-๖ คน
มาร่วมแสดงความคิดเห็น
อาจเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเดียวกันหรือเป็นการเสนอแนวทาง
แสวงหาทางออกของปัญหาหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นสนใจของกลุ่มหรือสาธารณชน
การอภิปรายลักษณะนี้ ผู้อภิปรายมักได้รับเชิญในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ เป็นบุคคลที่มีความคิดเห็นน่าสนใจ
เป็นผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้ที่สังคมกำลังให้ความสนใจ เป็นต้น มีคำเรียก ๒
คำสำหรับผู้อภิปราย คือ วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย
ทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันในแง่ที่ว่ามีบทบาทหน้าที่ให้ความคิด
ความรู้และข้อเสนอแนะต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง
๑๐.๓ การเตรียมตัวสำหรับการอภิปราย
ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายลักษณะใดก็ตาม ผู้อภิปรายที่ดีมักจะเตรียมตัวเพื่อที่จะพูดอภิปรายล่วงหน้าเสมอ เพื่อให้การพูดแต่ละครั้งน่าสนใจ โน้มน้าวใจ เป็นเหตุเป็นผล สมเหตุสมผลและเป็นจริงและต้องพูดให้ครบถ้วนในระยะเวลาที่จำกัด ปกติหากเป็นการอภิปรายในที่ประชุมหรือการอภิปรายทั่วไป ผู้อภิปรายมักมีเวลาเพียงน้อยนิด ตั้งแต่ ๒-๓ นาทีไปจนถึงประมาณ ๑๐ นาที ก็เรียกว่าใช้เวลามากแล้ว เพราะมีคนอีกจำนวนมากที่รอจะอภิปรายแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ในขณะที่การอภิปรายที่มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจำนวนจำกัด จะทำให้ผู้ร่วมอภิปราย มีเวลาอภิปรายมากกว่า
ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายลักษณะใดก็ตาม ผู้อภิปรายที่ดีมักจะเตรียมตัวเพื่อที่จะพูดอภิปรายล่วงหน้าเสมอ เพื่อให้การพูดแต่ละครั้งน่าสนใจ โน้มน้าวใจ เป็นเหตุเป็นผล สมเหตุสมผลและเป็นจริงและต้องพูดให้ครบถ้วนในระยะเวลาที่จำกัด ปกติหากเป็นการอภิปรายในที่ประชุมหรือการอภิปรายทั่วไป ผู้อภิปรายมักมีเวลาเพียงน้อยนิด ตั้งแต่ ๒-๓ นาทีไปจนถึงประมาณ ๑๐ นาที ก็เรียกว่าใช้เวลามากแล้ว เพราะมีคนอีกจำนวนมากที่รอจะอภิปรายแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ในขณะที่การอภิปรายที่มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจำนวนจำกัด จะทำให้ผู้ร่วมอภิปราย มีเวลาอภิปรายมากกว่า
กระนั้นก็ตาม
การเตรียมตัวที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญของการอภิปราย การเตรียมตัวที่ดีมี ๒
แบบตามประเภทหรือลักษณะของการอภิปราย ดังนี้
๑. การเตรียมตัวอภิปรายในที่ประชุมและการอภิปรายทั่วไป การประชุมเช่นนี้
มักมีการแสดงความคิดเห็นกันต่อเนื่อง
หากเป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือเป็นผู้สนใจในประเด็นปัญหาโดยเฉพาะ
จำเป็นต้องเตรียมตัว คือ
๑.๑
ศึกษาหาข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้กว้างขวางรอบด้าน
รู้จักต้นตอหรือสาเหตุ ปัจจัยที่ให้เกิดปัญหา
ข้อเสนอที่ได้มีการปฏิบัติไปแล้วหรือข้อเสนอ ข้อคิดเห็นต่าง ๆ
ที่ได้มีการพูดหรืออภิปรายมาก่อนหน้านี้
ผลของการปฏิบัติหรือการยอมรับหรือความเป็นไปได้ของข้อเสนอเหล่านั้น
ข้อมูลรอบด้านที่เป็นธรรมชาติของประเด็นปัญหา เหตุการณ์รอบด้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เป็นต้น
๑.๒
เมื่อเข้าใจสภาพปัญหาและข้อคิดเห็นที่มีอยู่ก่อนแล้ว
พยายามคิดหาเหตุผลด้วยกรอบแนวคิดหรือมุมมองที่แตกต่างในการเสนอแนะ
เพื่อแก้ปัญหาหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ทั้งนี้เพื่อว่า
ความคิดเห็นจะได้ไม่ซ้ำหรือเป็นความคิดเห็นดาด ๆ ทั่วไปที่คนรู้แล้ว
ผู้อภิปรายไม่เพียงแต่ตอกย้ำข้อมูล ความคิด ความเชื่อเดิมเท่านั้น
หากต้องเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ
เป็นไปได้และคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลใหม่หรือทางออกใหม่ที่ดีให้กับที่ประชุมด้วย
๑.๓ กลั่นกรองความคิด
เหตุผลและข้อมูลเพื่อให้เกิดความแน่ใจและมั่นใจอย่างเต็มที่ จากนั้น นำความคิด
เหตุผลและข้อมูล มาเรียงลำดับเพื่อความเป็นเหตุเป็นผล หาตัวอย่างมาประกอบ
เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย สั้นและชัดเจน
ทั้งนี้เนื่องจากมีเวลาพูดอภิปรายจำกัด
๑.๔
หากมีเวลาเตรียมตัวน้อยและเป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของที่ประชุมอย่างต่อเนื่อง
จำเป็นต้องใจจดใจจ่อต่อการอภิปรายของสมาชิกแต่ละคน บันทึกประเด็น
เหตุผลและตัวอย่างที่ยกประกอบ เพื่อทำความเข้าใจได้เร็ว หากต้องการเพิ่มเติม
สนับสนุนหรือโต้แย้ง ควรเขียนสิ่งที่ต้องการอภิปรายเป็นหัวข้อหรือประเด็นไว้
พร้อมเหตุผลและตัวอย่างอย่างย่อ ๆ โดยเขียนให้เป็นลำดับ เหตุและผลให้เหมาะสม
พร้อมตัวอย่างที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนความคิดของตน
หัวใจสำคัญของการอภิปรายแบบนี้คือ
ฟังให้มากเพื่อให้ได้รับข้อมูลและความคิดเห็น
อันจะนำไปสู่การแสวงหาทางออกใหม่สำหรับที่ประชุมและสิ่งเหล่านี้คือ
สิ่งที่ผู้ฟังต้องการและอยากรู้
๒. ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมประชุม
การเป็นวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแสดงถึงการได้รับการยอมรับให้เป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีจะการอภิปราย เหตุนี้เอง จึงทำให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย มีเวลาสำหรับการอภิปรายมากกว่าการอภิปรายแบบอื่นและการอภิปรายเช่นนี้ มักเน้นให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายพูดเป็นหลัก โดยอาจมีการซักถาม เปิดอภิปรายทั่วไปตอนหลัง เพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมได้บ้างในเวลาที่จำกัดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเตรียมตัวของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงมีลักษณะคล้ายกับการเตรียมตัวพูดโดยทั่วไป คือ
๑.
เตรียมตัวศึกษาหาความรู้
ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปรายอย่างรอบด้านและตรงประเด็น
๒. เน้นเรื่องความคิดใหม่
ข้อเสนอแนะใหม่ ทางออกใหม่และข้อมูลใหม่ พร้อมเหตุผล ตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน
ทั้งหมดนี้ต้องตรงประเด็นเช่นเดียวกัน
๓. วิเคราะห์ผู้ฟัง โอกาส
สถานที่ เวลา วัตถุประสงค์ของการอภิปราย
๔. จัดลำดับความคิด
เหตุผลและเลือกตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
๕. ร่างบทพูดด้วยการเลือกคำ
สำนวน ประโยค หาคำคม คติ แง่คิดและบทกวีที่สำคัญและเข้ากับเรื่องที่จะอภิปราย
โดยให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนด
๖.
ฝึกซ้อมให้จำได้ขึ้นใจและสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เร้าใจ
น่าสนใจ
๗. ทำเค้าโครงของบทพูด
โดยกำหนดเป็นโครงเรื่องที่เขียนเฉพาะประเด็นสำคัญ เหตุผล และตัวอย่าง
ทั้งหมดเขียนแบบย่อ ๆ เพื่อเป็นแนวในการพูด เขียนตัวโต ๆ เพื่อให้ดูและอ่านง่าย
หากเป็นคำคม บทกวี ก็เขียนไว้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะขณะพูดอาจลืมได้
เค้าโครงหรือโครงเรื่องนี้ อาจจะใช้กระดาษธรรมดาหรืออาจใช้แผ่นกระดาษแข็งก็ได้
เพื่อให้ดูและอ่านได้อย่างสะดวก
สิ่งหนึ่งที่การเตรียมตัวอภิปรายแตกต่างจากการเตรียมตัวพูดทั่วไปคือ
การวิเคราะห์วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายด้วยกัน เนื่องด้วยการอภิปรายเช่นนี้
มีวิทยากรตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หากได้รับการมอบหมายหัวข้อหรือประเด็นที่แตกต่างกัน
ก็นับเป็นเรื่องดีที่สามารถเตรียมตัวได้ตามประเด็นนั้น
หลายครั้งที่การอภิปรายไม่ได้มีการมอบหมายหัวข้อพิเศษให้แก่วิทยากรแต่ละคน
ทำให้วิทยากรจำเป็นต้องเตรียมมากขึ้น
ด้วยการอ่านใจหรือวิเคราะห์วิทยากรที่เป็นผู้ร่วมอภิปรายว่า ผู้อภิปรายร่วม
มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด มีแนวคิดหรือมุมมองอย่างไรและคาดว่า
ผู้อภิปรายร่วมจะเสนออย่างไร เพื่อว่าการเตรียมตัวจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนกันขึ้น
ดังนั้น
ทางที่ดีควรเตรียมตัวให้มากและขณะเดียวกันก็ต้องอ่านและวิเคราะห์ผู้ร่วมอภิปรายด้วย
โดยปกติ
เพื่อให้การอภิปรายดำเนินไปอย่างราบรื่นและได้รับความรู้
ความคิดเห็นและประโยชน์สูงสุด
ผู้จัดการอภิปรายจะกำหนดหัวข้อย่อยให้ผู้อภิปรายแต่ละคนล่วงหน้า
บ่อยครั้งที่ไม่ได้ทำเช่นนี้ ผู้จัดดำเนินการอภิปราย
ก็อาจนัดแนะให้ผู้อภิปรายได้พบปะกันก่อนดำเนินการอภิปรายโดยประสานงานกับผู้ร่วมอภิปราย
จัดระเบียบประเด็น
ลำดับการพูดอภิปรายและกำหนดเวลาให้กับวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่าน
ยกเว้นมีการติดต่อล่วงหน้าเป็นเวลานาน
เมื่อเป็นเช่นนี้
วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงต้องเตรียมตัวให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง
มีข้อมูลและความคิดเห็น
เพื่อจะได้ไม่เกิดความซ้ำซ้อนหรืออับจนข้อมูล
๑๐.๔ ผู้ดำเนินการอภิปราย
ผู้ดำเนินการอภิปรายมีบทบาทสำคัญมากในการอภิปราย เป็นผู้ทำให้การอภิปรายเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างราบรื่นและน่าสนใจ ปกติแล้วผู้ดำเนินการอภิปรายมีหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้
ผู้ดำเนินการอภิปรายมีบทบาทสำคัญมากในการอภิปราย เป็นผู้ทำให้การอภิปรายเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างราบรื่นและน่าสนใจ ปกติแล้วผู้ดำเนินการอภิปรายมีหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้
๑.
เป็นผู้กำหนดรูปแบบการอภิปราย ประเด็นหัวข้อย่อยให้เป็นลำดับอย่างเหมาะสม
มีความน่าสนใจแก่วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่าน
กำหนดเวลาอภิปรายของแต่ละคนและช่วงเวลาสำหรับการซักถาม ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ
ผู้ควบคุมเวที ผู้กำหนดเวลาและจับเวลา ตลอดจนกำหนดกติกาที่เหมาะสม
เพื่อให้การอภิปรายได้รับประโยชน์สูงสุด
๒. เป็นพิธีกร
สำหรับการอภิปรายที่ไม่เป็นทางการ ผู้ดำเนินการอภิปรายจะทำหน้าที่เป็นพิธีกร
แนะนำประเด็นที่จะอภิปราย ความสำคัญ ความน่าสนใจ
โอกาสและความคาดหวังของผู้จัดอภิปราย
๓.
การแนะนำวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย ให้กล่าวถึงประวัติที่สำคัญ
ความน่าสนใจหรือลักษณะพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน ตำแหน่ง
ผลงานที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย
โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านเวลาและความสนใจของผู้ฟัง
๔.
กล่าวนำและเชื่อมโยงประเด็นการอภิปรายของวิทยากรแต่ละท่าน
หากผู้ร่วมอภิปรายพูดยาวและไม่ชัดเจนนัก ผู้ดำเนินการอภิปรายอาจสรุปเป็นประเด็น
เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น หากเนื้อหาชัดเจนแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องสรุป
เพราะทำให้เสียเวลา
แต่เชื่อมโยงประเด็นและเชิญผู้ร่วมอภิปรายคนต่อไปอภิปรายต่อ
๕.
จัดสรรและควบคุมเวลาในการซักถาม
เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดการพูดหรือการพูดที่ออกนอกเรื่อง ไม่ตรงประเด็นหรือยืดเยื้อ
ผู้ดำเนินการอภิปราย ต้องจัดสรรและควบคุมเวลา
๖.
กล่าวขอบคุณวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย
ผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและผู้ฟัง
ผู้ดำเนินการอภิปรายที่ดีควรมีลักษณะ
ดังนี้
๑. มีลักษณะผู้นำ กล้าตัดสินใจ
กล้าที่ดำเนินการอภิปรายให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด
๒. เตรียมตัวดีสำหรับการอภิปราย
กล่าวคือ มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปราย มีข้อมูล เข้าใจ
สามารถตั้งคำถามหรือข้อสังเกตที่ดีได้และเตรียมตัวมาอย่างดี ทั้งในส่วนของเนื้อหา
บทเริ่มต้น บทแนะนำผู้ร่วมอภิปรายและบทสรุปการจบอภิปรายว่า
จะพูดอย่างไรให้เหมาะสม
๓. มีวาทศิลป์ในการตัด
ขัดและแทรก หากมีการพูดเกินเวลา พูดนอกเรื่อง ยืดเยื้อ
๔.
ใจจดใจจ่อและมีสมาธิฟังการอภิปรายเพื่อการสรุปอย่างตรงประเด็น สั้น กระชับ
ถูกต้องและสามารถเชื่อมต่อ ประเด็นได้อย่างราบรื่น
ผู้ดำเนินการอภิปรายอาจจำเป็นต้องเขียนบันทึกอยู่ตลอดเวลาขณะฟังวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย
เพื่อไม่ให้ลืมหรือหลงประเด็น
๕. เตรียมนาฬิกาเพื่อจับเวลา
กระดาษสำหรับเตือนผู้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเวลาที่เหลือหรือการสรุปจบความ
๖.
ดำเนินการอภิปรายอย่างเป็นกันเอง เป็นธรรมชาติและจริงใจ
๗.
แต่งกายสุภาพ
๑๐.๕ พิธีกร
พิธีกรเป็นบุคคลสำคัญของงานเสมอ เป็นผู้ที่จะทำให้งานการอภิปรายดำเนินไปได้อย่างราบรื่นทั้งก่อนการอภิปรายและภายหลังการอภิปราย ปกติแล้ว คนทั่วไปไม่รู้จักพิธีกร หากทำงานได้ดี ราบรื่น ก็จะดูเหมือนว่าพิธีกรทำงานได้ตามปกติ ตามความคาดหวังของที่ประชุม อย่างไรก็ตาม หากมีเรื่องติดขัดขึ้น สิ่งที่ผู้ฟังสนใจและพุ่งเป้าความสนใจไปก็คือ พิธีกร นั่นเอง
พิธีกรเป็นบุคคลสำคัญของงานเสมอ เป็นผู้ที่จะทำให้งานการอภิปรายดำเนินไปได้อย่างราบรื่นทั้งก่อนการอภิปรายและภายหลังการอภิปราย ปกติแล้ว คนทั่วไปไม่รู้จักพิธีกร หากทำงานได้ดี ราบรื่น ก็จะดูเหมือนว่าพิธีกรทำงานได้ตามปกติ ตามความคาดหวังของที่ประชุม อย่างไรก็ตาม หากมีเรื่องติดขัดขึ้น สิ่งที่ผู้ฟังสนใจและพุ่งเป้าความสนใจไปก็คือ พิธีกร นั่นเอง
สำหรับการอภิปราย
พิธีกรมีบทบาทและหน้าที่อยู่เพียง ๒ ช่วง คือ
ช่วงแรกก่อนมีการอภิปรายและช่วงหลังเมื่อจบการอภิปราย
แม้ดูเหมือนไม่ใช่กลไกหลักของงาน
แต่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การอภิปรายน่าสนใจและจบลงได้อย่างประทับใจ
หากพิธีกรได้เตรียมตัว เขียนบท พูดอย่างเป็นธรรมชาติ มีแง่คิด คติและคำคม
ที่ให้ภาพรวมและความประทับใจเกี่ยวกับการอภิปราย ตลอดจนย้ำความคิด
ข้อเสนอที่ดีของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายให้ผู้ฟังได้ฝังใจ
ประทับใจและนำติดไปคิดไตร่ตรองและมีความประทับใจที่ดีกับการอภิปรายและวิทยากร
โดยทั่วไป พิธีกรสำหรับการอภิปรายมีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑. แนะนำหัวข้อการอภิปราย
โอกาสและวัตถุประสงค์ของการอภิปราย
เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมากขึ้นและอาจกล่าวถึงผู้ร่วมอภิปรายและผู้ดำเนินการอภิปรายในแง่มุมที่เกี่ยวกับหัวข้อเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
๒.
แนะนำผู้ดำเนินการอภิปราย
๓. เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง
กล่าวขอบคุณผู้ดำเนินการอภิปรายและวิทยากรอีกครั้ง และขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน
ช่วยเหลือและผู้ฟัง
พิธีกรที่ดีต้องเข้าใจและมองเห็นภาพรวมของการดำเนินงานการอภิปรายทั้งหมด
ต้องเป็นผู้วางแผนเกี่ยวกับกำหนดเวลาของการเริ่มและการเลิกงาน
รู้รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาว่า
ช่วงใดมีการดำเนินการอย่างไรและมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย
ตลอดจนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ วัตถุประสงค์ของการจัดการอภิปราย
สามารถพูดดึงความสนใจจากผู้ฟังได้
นอกจากนี้พิธีกรยังต้องรู้ว่าควรต้องกล่าวถึงและขอบคุณใครบ้างที่ทำให้งานเกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จ
๑๑. ความหมายของการเสวนา (Dialogue)
การเสวนา ก. คบ
เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้
เราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย น. การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น
กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่[๕]
การเสวนา หมายถึง
การฟังและการสื่อสารระดับสูงระหว่างบุคคล ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจประเด็นต่าง ๆ
อย่างอิสระ สร้างสรรค์และต้องอาศัยความสามารถในการฟังอย่างครุ่นคิด
พิจารณาเวลาที่ผู้อื่นทักท้วงความเห็น
เดวิด โบห์ม(David Bohm)
ให้ความสำคัญแก่ การเสวนา (Dialogue) ไว้ใน On Dialogue (๑๙๙๖) ว่า
เป็นสิ่งที่สามารถที่จะนำไปสู่สันติภาพแห่งโลกได้ การเสวนา (Dialogue)
มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Dia = through (ผ่าน) Logos = the word, meaning of
the word (ถ้อยคำหรือความหมายของถ้อยคำ)
จึงสรุปว่า
การเสวนาเป็นกระแสของความหมายที่ไหลอยู่ท่ามกลางและผ่านเรา รวมทั้งระหว่างเรา
ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจใหม่ ๆ ขึ้นที่สร้างสรรค์และเชื่อมโยงเราเข้าด้วยกัน
การเสวนา จะเป็นระหว่างเรากับตัวเราเองคนเดียวหรือระหว่างกลุ่มคนก็ได้
ในการเสวนาไม่มีใครพยายามเอาชนะใคร หรือให้ประเด็นของตนเองถูกต้องกว่า
ทุกคนจะได้เป็นผู้ได้ร่วมกันและชนะร่วมกัน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
ในกระบวนการเสวนานี้
เราจะได้สะท้อนความคิดระหว่างกันและกัน การฟังในสิ่งที่ผู้อื่นและตนเองพูด
จะสามารถทำให้เราค่อย ๆ เห็นความไม่ต่อเนื่องในกระบวนการความคิดของเรา
ซึ่งเป็นการขาดความเชื่อมโยงกับความเป็นจริง
และโดยแก่นแท้แล้วยังเป็นสาเหตุของวิกฤติปัญหาต่างๆ ในโลกด้วย
เราจะเห็นความหมายที่แฝงที่อยู่ภายใต้กระบวนการทางความคิดของเราได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
และค่อย ๆ เกิดความเชื่อมโยงทางความคิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเกิด
‘ปัญญา’ ซึ่งมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องร่วมกัน
การเสวนา (Dialogue) ไม่ใช่การอภิปราย
(Discussion) หรือการโต้วาที (Debate) ซึ่งมีนัยยะ ดังนี้
-
การมีจุดมุ่งหมายบางประการ
-
การพยายามหาข้อสรุปตกลงร่วมกันให้ได้
-
การพยายามแก้ปัญหาบางประการ
-
การพยายามให้ความคิดเห็นของใครคนใดคนหนึ่งเหนือกว่า
การเสวนา (Dialogue)
ไม่ใช่การนัดคุยกันระหว่างเพื่อนฝูง
แต่เป็นในลักษณะที่มารวมตัวกันแบบไม่เป็นทางการและมีจุดมุ่งหมายเพื่อการบันเทิง
เพื่อการแลกเปลี่ยนมิตรภาพหรือเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกัน
ซึ่งเป็นการสำรวจความคิด โดยเป็นกระบวนการที่ผู้เข้าร่วมการเสวนา (Participants)
จะนั่งล้อมวงคุยกันโดยที่ไม่มีการกำหนดวาระหรือประเด็นหลักใดเป็นพิเศษ
ไม่มีจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์หลักใดในการกำหนดล่วงหน้า พยายาม ฟัง สิ่งที่พูดกัน
โดยไม่รีบรุดไปสู่การพยายามหาข้อสรุปหรือการพยายามให้ความคิดเห็นของเราชนะ
ไม่ต้องมีผู้นำกลุ่ม ทุกคนจะเท่าเทียมกันในการเสวนา แต่อาจมีผู้อำนวยความสะดวก
(Facilitator) ในช่วงแรกเพื่อช่วยให้กลุ่มดำเนินไปได้
จากประสบการณ์ของ Danald Factor และ
Peter Garrett หากกลุ่มมีขนาดประมาณ ๒๐-๔๐ คน จะพอเหมาะ
เพราะจะไม่เป็นกันเองจนเกินไปและไม่มีคนมากเกินไป จนบางคนไม่ได้พูด
การเสวนาแต่ละครั้งไม่ควรเกิน ๒ ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เหนื่อยเกินไป
กลุ่มควรจะได้พบกันสม่ำเสมอ แต่ควรจะเว้นช่วงอย่างน้อย ๑ สัปดาห์
ระหว่างการเสวนาแต่ละครั้ง เพื่อให้มีเวลาสะท้อนความคิด
แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจและปล่อยให้กลุ่มสลายไปตามธรรมชาติ
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อแนะนำเหล่านี้ ไม่ใช่กฎเกณฑ์ เพราะหัวใจของการเสวนา (Dialogue)
นั้นอยู่ที่ “การเปิดให้เป็นอิสระ” และเป็น
“การเต้นรำแห่งกระบวนความคิด”
นอกจากนี้
ผู้เข้าร่วมเสวนาต้องมองให้ออกว่า แบบแผนต่าง ๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์
อาจส่งเสริมหรือบ่อนทำลายการเรียนรู้ได้ ตัวอย่างเช่น
องค์กรหรือกลุ่มมักจะมีแบบแผนของการปกป้องตนเองฝังลึกอยู่และถ้ามองไม่ออกหรือมองข้ามแบบแผนประเภทนี้ไป
ก็จะเป็นการบ่อนทำลายการเรียนรู้
แต่ถ้ามองออกและเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นอย่างสร้างสรรค์ ก็สามารถเร่งการเรียนรู้ได้
การเสวนาจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างการเชื่อมโยงและการประสานการเรียนรู้[๖]
การเสวนานับเป็นการสื่อสารที่เข้มข้น ที่มีคุณภาพ
มีอิสระต่อการคิดอย่างสร้างสรรค์ที่มองประเด็นซึ่งเกี่ยวข้องอย่างรอบด้านร่วมกัน
โดยไม่ด่วนตัดสินใจในความคิดเห็นของผู้อื่น การนำทักษะในการเสวนาเหล่านี้มาใช้
ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ครบถ้วน
การเสวนายังทำให้องค์กรสามารถนำเอาความฉลาดทั้งหมดที่มีอยู่ออกมาใช้ได้ดีขึ้น
ทำให้มองแบบองค์รวม ไม่ใช่แยกเป็นส่วน ๆ และยังกระตุ้นให้ทำความเข้าใจว่า ทำไม
อย่างไร การรับรู้ภายในใจที่เกิดขึ้น จึงมีอิทธิพลต่อมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ
ชัดเจนและตรงเป้าขึ้น
ความสำเร็จของการเสวนา
จะทำให้สามารถหาข้อสรุปหรือทำให้เกิดนัยโดยทั่วไปจากการสังเกตการณ์ได้
ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการซักถามและการสนับสนุนทำให้มองออกถึงความแตกต่างระหว่างทฤษฏีกับการปฏิบัติ
การสานเสวนา(dialogue)
เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ
ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos
แปลว่าคำหรือความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคำว่า dialogue
ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำให้เกิดความหมาย ที่ไหลลื่นผ่านไปในหมู่ผู้สนทนา
เมื่อแปลเป็นไทยว่า สานเสวนา จึงอยากให้หมายถึง การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ (เสวนา)
ที่มุ่งสานความหมายและความเข้าใจ โดยยอมรับความแตกต่างของจุดยืน ความคิด
และอัตลักษณ์[๗]ของผู้สนทนา
เพื่อให้การสานเสวนาเป็นการสนทนาที่สานความเข้าใจ ผู้พูดจะต้องพูดอย่างมีสติ พูดอย่างเปิดใจ
พูดถึงความคิดความเชื่อของเราโดยไม่อนุมานความคิดความเชื่อของผู้อื่นเพื่อมาวิเคราะห์
ตีความ หรือตัดสิน ส่วนจะเรียงลำดับความอย่างไรก็ได้
แต่กระนั้นก็มีวิธีเรียงลำดับความแบบหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้คือ
เริ่มพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสังเกตเห็นของเรา
โดยไม่ตัดสินหรือตีความหมายสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น
แล้วจึงแสดงความรู้สึกของเราที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น
โดยไม่ต่อว่าหรือแสดงออกเชิงตำหนิหรือกล่าวโทษใคร ขั้นตอนต่อไปคือการบอกความต้องการ
(need) หรือเป้าหมายของเรา สุดท้ายจึงกล่าวคำขอ (ไม่ใช่คำสั่ง)
ที่ขอให้ผู้อื่นกระทำเพื่อสนองความต้องการของเรานั้น
การพูดจะต้องไม่เป็นการโจมตีผู้อื่น
ไม่กล่าวโทษว่าผู้อื่นมีเจตนาร้ายหรือมีจุดหมายซ่อนเร้นหรือมีอุปนิสัยที่ไม่ดีต่าง
ๆ นานา
การสานเสวนาเน้นที่การฟังมากกว่าการพูด ในการสานเสวนาผู้ฟังจะต้องฟังอย่างลึกซึ้ง
ฟังด้วยใจเปิดกว้างเมตตา ฟังโดยไม่ด่วนตัดสินหรือตัดสินไว้ก่อน
ฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา
เมื่อรับฟังเรื่องใดมา ขอให้ระงับใจไตร่ตรอง อย่าโพล่งตอบหรือสวนออกไปด้วยความโกรธหรืออารมณ์อื่นใด
หากตั้งสติอยู่กับปัจจุบัน ใส่ใจกับคำพูดที่ได้รับฟังมา เมื่อไตร่ตรองแล้ว
ควรเริ่มพูดโดยกล่าวถึงความเข้าใจของเราต่อสิ่งที่ได้ฟังมา
เพื่อแสดงว่าเราตั้งใจฟังจริง
อย่างไรก็ดี การแสดงความเข้าใจเช่นนี้ มีโอกาสที่จะถูกมองว่า
เป็นการสรุปความที่คลาดเคลื่อน ดังนั้น
จึงควรกล่าวถึงบางประเด็นที่คิดว่าสำคัญเท่านั้น
อีกทั้งกล่าวโดยใช้ประโยคให้ตรงกับที่ได้ฟังมาโดยไม่เรียบเรียงใหม่
จากนั้นจึงพูดถึงความคิดความเชื่อของเรา
โดยอาจเรียงลำดับความดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าก่อน
ถ้าการสานเสวนาอยู่ในรูปแบบการถามตอบ ก็ขอให้เป็นคำถามที่จริงใจ ถามด้วยความสนใจอยากรู้
มิใช่ถามแบบหลอกล่อเพื่อจับผิดหรือถามนำเชิงกล่าวโทษ ส่วนคำตอบ
ก็ไม่ควรเป็นการใช้ตรรกะซ้ำเดิมหรือสำนวนโวหารซ้ำซากหรือการแสดงเหตุผลสนับสนุนความเห็นของตนให้หนักแน่นหรือรุนแรงยิ่งขึ้น หากควรเป็นคำตอบที่ตรงไปตรงมา
รวมทั้งเปิดเผยถึงความคิด ความรู้สึกที่ไม่ได้กล่าวถึงมาก่อนด้วย
การสานเสวนาหมายรวมถึงการนำสิ่งที่รับฟังมาไตร่ตรอง
หมายถึงการฟังเสียงสะท้อนในตัวเราและการเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์ในตัวเรากับผู้อื่น
เมื่อการสานเสวนามาถึงระดับการเชื่อมโยงเช่นนี้
ก็จะเกิดการไหลลื่นของความหมายที่ผ่านไปในหมู่ผู้สนทนาตรงตามรากศัพท์ของคำว่า
dialogue นั่นเอง
เมื่อนำวิธีการสานเสวนา
มาใช้ในกรณีการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง(conflict transformation)
จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า การสานเสวนาไม่ใช่การโต้แย้ง (debate)
ไม่ใช่การแสวงหาความเห็นพ้องต้องกัน ไม่ใช่การไกล่เกลี่ย ไม่ใช่การเจรจาต่อรอง
ไม่ได้มุ่งที่จะโน้มน้าวหรือเปลี่ยนแปลงความคิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่ได้มุ่งที่จะแก้ไขความขัดแย้งในระยะสั้น หากมุ่งที่จะให้เกิดความเคารพต่อความเห็นที่แตกต่าง มุ่งที่จะลดอคติและมุ่งให้เกิดการเปิดรับความคิดใหม่
ๆ
การสานเสวนาอาจนำไปสู่การเปลี่ยนความคิดของผู้ร่วมการสานเสวนา แต่ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในตนเองหลังจากการไตร่ตรอง
ไม่ใช่การเห็นคล้อยอย่างฉาบฉวยหรือหลงตามสำนวนคารม
ส่วนความสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งที่หวังว่าจะดีขึ้นหลังการสานเสวนานั้น แม้จะเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการสานเสวนาเพื่อแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งก็จริง
ก็ควรเป็นไปโดยธรรมชาติ หลังจากเกิดความรู้สึกที่ดีขึ้น เพราะได้มาพูดจากันอย่างเพื่อนมนุษย์
ได้สัมผัสความเป็นมนุษย์ที่มีร่วมกันและแต่ละคนรู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับมากขึ้นนั่นเอง
การสานเสวนาที่นำมาใช้ในกรณีการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งอาจมีแนวปฏิบัติดังนี้
- มีการเตรียมตัวก่อนการประชุม
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจกระบวนการสานเสวนาและยอมรับกติการ่วมกัน
- ผู้เข้าร่วมการสานเสวนา
ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำที่โดดเด่นของแต่ละฝ่ายเสมอไป
หากเป็นผู้พร้อมเข้าร่วมและแสดงออกถึงความคิด
ความเชื่อและประสบการณ์ของตนในฐานะปัจเจกบุคคล
-
ผู้เข้าร่วมช่วยกันสร้างบรรยากาศการสานเสวนาที่ผ่อนคลาย ไม่วิตกว่าสิ่งที่พูดจะถูกนำไปใช้ให้ฝ่ายตนต้องเสียเปรียบ
ไม่วิตกว่าสิ่งที่พูดจะตรงหรือต่างจากคนอื่นในฝ่ายของตนและอาจเปิดเผยทั้งเรื่องที่ตนเชื่อมั่นและที่ตนสงสัยไม่แน่ใจ
- ทุกคนยอมรับว่า
ความสำเร็จของการสานเสวนาไม่ใช่การแสวงหาหรือการบรรลุข้อตกลง หากอยู่ที่การรับฟังและการเข้าถึงความเชื่อและความห่วงใยของแต่ละฝ่าย การเรียนรู้ถึงความซับซ้อนของประเด็นความขัดแย้งรวมทั้งมิติเชิงความต้องการและคุณค่าพื้นฐานและการมีโอกาสได้พิจารณาโจทย์หรือนิยามความขัดแย้งในมุมมองต่าง
ๆ กัน
-
มีความมุ่งหวังว่าในระยะยาวแล้ว การสานเสวนาในกลุ่มย่อยดังกล่าวข้างต้น จะช่วยสร้างความไว้วางใจและจะขยายวงเป็นการสานเสวนาในวงใหญ่
เป็นการสานเสวนาสาธารณะ ซึ่งอาจจะช่วยแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง
ทั้งในเชิงความสัมพันธ์และในเชิงโครงสร้างได้[๘]
[๒] http://www.heritage.thaigov.net/religion/relceremony/relcer10htm
[๓] พระธรรมโกศาจารย์
(ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต),
เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส. หลักการและวิธีการเทศนา, (เอกสารถ่ายสำเนา),
หน้า ๑๐ - ๒๗.
[๔] http://dictionary.kapook.com.
[๕] ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, หน้า ๑๒๑๗.
[๖] http://gotoknow.org/blog/taew4737503/2027
[๗] คำว่า
อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง
ตนหรือตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์
ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง
ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้
เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัต-ลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที
สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง โลกา
ภิ-วัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมเปลี่ยนไป
[๘]http://www.peace.mahidol.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=351&Itemid=155
ที่มา
: http://prasompong.igetweb.com/index.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น