วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีความขัดแย้ง

          อัจฉรา ภานุรัตน์ (2550 : 8) กล่าวถึงทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict Theory) มองสังคมในฐานะหน่วยรวมทั้งหมดที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ความกดดันและการกดขี่ขูดรีดตลอดเวลา และเชื่อว่าความขัดแย้งจำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมในท้ายที่สุด และการศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสังคมรวมที่คนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อจะได้โอกาสสงวนและควบคุมความรู้และผลประโยชน์ของตน การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เลือกสรรและเตรียมคนสำหรับการงานในระดับต่าง ๆ ให้รับใช้ชนชั้นผู้มีอำนาจ

อัจฉรา ภานุรัตน์. (2550). บริบทและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษายุคหลัง
ความทันสมัย. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ไม่มีความคิดเห็น: