วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

บริบทและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา

          อัจฉรา ภานุรัตน์ (2550 : 19) กล่าวว่า แม้ไม่ใช้ภาษาอังกฤษอันเป็นเงื่อนไขของความทันสมัย แต่เราชาวเอเซียก็สามารถสื่อสารและถ่ายทอดอุดมการณ์ซึ่งกันและกันได้ระหว่างแต่ละประเทศในภูมิภาคซึ่งเราก็กระทำกันอย่างนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานับพัน ๆ ปี เช่น ภาษาตระกูลไท ได้แก่ไตแสด ไต-ไต ลื้อ โซ่ง ยอง ไทหย่า ไทใต้ ไทโคราช ลาวหล่ม ลาวดี ลาวครั่ง กระเลิง ย้อ โย้ย และอื่น ๆ  ภาษาตระกูลออสโตรเอเซียติ ได้แก่ ภาษาต่าง ๆ ในเอเซียใต้ และภาษาแขนงมอญเขมร อาทิ ปะหล่อง ละเม็ด ละเวือะ ว้า มลาบรี มัลปรัย โซ่ ทะวึง เวียดติก ขมุ เปียริก ชอง กะซอง ซำเร ชะโอด เขมร ส่วย กวย กูย เยอ บรู มอญ ญัฮกุร อัสเลียน เป็นต้น ภาษาตระกูลจีนทิเบต แบ่งเป็นแขนงทิเบตพม่า อาทิ สาล อะข่า (อีก้อ) และแขนงซินนินิค (จีน) ฯลฯ ภาษาตระกูลออสโตรนีเซีย ได้แก่ มลายู อูรกละโว้ย มอเก็น เป็นต้น ภาษาตระกูลม้งเมียน ได้แก่ แม้ว เย้า ม้งดำ ม้งขาว และอื่น ๆ เป็นต้น


อัจฉรา ภานุรัตน์. (2550). บริบทและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษายุคหลัง
ความทันสมัย. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ไม่มีความคิดเห็น: