วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีระบบ (System Theory)

           อัจฉรา ภานุรัตน์ (2550 : 9-11) กล่าวถึง ทฤษฎีระบบ (System Theory) มีข้อสมมติฐานว่าสังคมเป็นระบบ มีองค์ประกอบที่เรียกว่า โครงสร้าง (ระบบย่อย) ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีขอบเขตแบ่งกั้นระหว่างระบบสังคมหนึ่งกับอีกระบบหนึ่ง การปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างในสังคมย่อมีความหมายว่าเมื่อโครงสร้างหรือระบบย่อยหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างอื่นก็จะกระทบกระเทือนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อการตีความระบบการศึกษามาก โดยหลายฝ่ายเข้าใจว่า ถ้าอัตราเพิ่มของประชากรสูงมาก ระบบเศรษฐกิจจะต้องขยายตัวให้รวดเร็วขึ้นด้วย และเชื่อต่อไปว่าระบบเศรษฐกิจจะเจริญได้ ระบบการศึกษาจะต้องตอบความต้องการนี้ เป็นต้น


อัจฉรา ภานุรัตน์. (2550). บริบทและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษายุคหลัง
ความทันสมัย. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ไม่มีความคิดเห็น: