วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กระบวนการคิดสร้างความรู้ใหม่


ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2554). “การสร้างองค์ความรู้ใหม่” ใน จากประวัติศาตร์หมู่บ้านสู่ทฤษฎีสอง
           ระบบ.  สุรินทร์ : สถาบันราชภัฏสุรินทร์. หน้า 49-55.

กระบวนการคิดสร้างความรู้ใหม่
           นักวิชาการ/วิจัยท้องถิ่น มีบทบาทสำคัญที่จะประกอบข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจท้องถิ่นขึ้นเป็นระบบเพื่อฟื้นฟูจิตวิญญาณเอกลักษณ์ของท้องถิ่น การพัฒนาการปกครองตนเองของท้องถิ่น และเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
           กระบวนการคิดสร้างความรู้ใหม่ ควรให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องต่อไปนี้
           1.การศึกษาทฤษฎีและมิติเปรียบเทียบ การวิจัยระดับสูงมีคุณูปการต่อองค์ความรู้ ด้วยการค้นพบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของปัจจัยต่าง ๆ เหมือนหรือต้องปรับปรุงแนวคิดทฤษฎีเดิมอย่างไร กล่าวคือจะต้องมีการรูปข้อเท็จจริงท้องถิ่นให้มีสาระและรูปแบบทางทฤษฎี จึงจะเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่
           2.การค้นคว้าวิจัยเป็นทีม หรือการทำให้มีการค้นคว้าวิจัยโดยต่อเนื่องเพราะเราไม่มีองค์ความรู้ใหม่ในประเทศมากพอที่จะพึ่งได้ทันที จึงต้องผนึกกำลัง ผนึกความรู้เพื่อต่อยอดขึ้นไป เป็นการทดแทน การขาดกำลังคนระดับสูงด้วยการรวมกลุ่มทางประมาณและด้วยการทำงานต่อเนื่องยาวนาน
           3.การค้นคว้าเป็นระยะยาวในลักษณะกระบวนการซึมซับ ให้การวิจัยเป็นการปฏิบัติการ เป็นการเข้าทำการ เป็นการขุดค้น เป็นฝ่ายรุกคือเข้าไปแสวงหาในสิ่งที่สนใจอย่างจริงจัง ค้นหาลึกลงด้วยตนเอง การวิจัยจึงเป็นเรื่องของความรักในความรู้ และอารมณ์ที่จะหมกมุ่นในกระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่

ไม่มีความคิดเห็น: