วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างสังคม

อคิน รพีพัฒน์. “การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนในการวิจัยเชิงคุณภาพ.”การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา. ขอนแก่น : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2546). หน้า 91- 136

การวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างสังคม
           รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพต้องทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนซึ่งการวิเคราะห์แบบองค์รวมได้ต้องอาศัยพื้นฐานทางทฤษฎีที่เป็นหัวใจของการวิจัยเชิงคุณภาพทฤษฎีหนึ่งคือทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ โครงสร้างสังคมคือความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของสังคม การวิเคราะห์สังคมจะต้องมีการแยกส่วนขององค์ประกอบทางสังคมออกเป็นส่วนๆ แล้ววิเคราะห์หน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้แต่ละองค์ประกอบทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ที่จะต้องมีความเข้าใจธรรมชาติของชุมชนก่อนว่า ชุมชนนั้นหมายถึงการรวมกันอยู่ของกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในบริเวณหรือพื้นที่หนึ่ง เพื่ออาศัยทรัพยากรธรรมชาติในระบบนิเวศของบริเวณนั้นในการดำเนินชีวิต หน้าที่ของชุมชนจึงหมายถึงการจัดสรรทรัพยากรในระหว่างสมาชิกชุมชน และช่วยให้สมาชิกทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบและมีระเบียบ ดังนั้น การวิเคราะห์ชุมชนประการหนึ่งคือการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชน และความแน่นแฟ้นของการรวมตัวของสังคมโดยต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชุมชนด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่าการวิเคราะห์ชุมชนมีขั้นตอนคือ 1.การแบ่งแยก วิเคราะห์องค์ประกอบชุมชนออกเป็นส่วน ๆ แล้ว 2 วิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์โดยรวม โดยการวิเคราะห์การหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ที่มีต่อกันและกัน อันมีผลต่อสังคมส่วนรวม และอาจแบ่งองค์ประกอบของสังคมออกได้เป็นระบบนิเวศ (ความสัมพันธ์ของคนกับสภาพแวดล้อม) ระบบเศรษฐกิจ (รายได้ รายจ่าย การทำมาหากิน) ระบบการเมือง (การตัดสินใจเพื่อส่วนรวม) การศึกษา สาธารณสุข ความเชื่อ และศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น: