วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดในการวิเคราะห์สังคมไทย


ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.  “จะศึกษาสังคมไทยอย่างไร.” แนวทางและวิธีวิจัยสังคมไทย.
           กรุงเทพฯ : บริษัทสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด. (2548) หน้า 15-22

แนวคิดในการวิเคราะห์สังคมไทย
           การศึกษาสังคมไทยโดยอาศัยทฤษฎีหรือแนวคิดตะวันตกทั้งหมดอาจยังมีจุดอ่อนได้ จากประสบการณ์การวิจัยในสังคมไทยมาก่อนทำให้มีแนวคิดว่า การศึกษาสังคมไทยให้เข้าใจได้อย่างจริงจัง ควรมีแนวทางในการวิเคราะห์สังคมในประเด็นต่อไปนี้ (1) โครงสร้างและความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในสังคม เป็นประเด็นแรกที่ต้องศึกษาก่อนเพื่อให้รู้จักสังคมที่ศึกษาโดยรวม คือศึกษาความสัมพันธ์ของสถาบันต่าง ๆ ในสังคม เช่น สถาบันรัฐ ครอบครัว การศึกษาและเศรษฐกิจ โดยไม่แยกส่วนเนื่องจากต่างมีผลกระทบต่อกันและกัน การอธิบายสังคมเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งจึงอาจคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนั้นต้องศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นในสังคมด้วย เพราะการจัดกลุ่มตามชนชั้นได้จะทำให้ตัวแปรในการศึกษาลดลง (2) เข้าใจสังคมอย่างเป็นกระบวนการ การศึกษาโดยย้อนกลับไปสู่รากเหง้าหรือความเป็นมาของปรากฏการณ์ในสังคม นอกจากได้ทราบความเป็นมาแล้วยังเข้าใจปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ได้รอบด้าน และสามารถทำนายหรือกำหนดความเป็นไปในอนาคตได้บ้าง (3) สนใจความขัดแย้งในสังคม เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ ความขัดแย้งจึงเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่นเดียวกับความกลมกลืนกันในสังคม ซึ่งมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ และความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางสังคมเช่นกัน (4) การวิเคราะห์จากมุมมองของชาวบ้าน การอยู่ในกลุ่มหรือชนชั้นที่ต่างกันจะเห็นภาพของสังคมต่างกัน การศึกษาแนวคิดของคนธรรมดาได้ผสานกลมกลืนไปกับผู้ศึกษา และเกี่ยวพันไปถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ทางวัตถุและจิตใจชาวบ้านในทางที่ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: