ภาพกระบวนพหุยาตรา
ความหมายกระบวนพหุยาตรา
กระบวนพหุยาตรา คือ
ริ้วประบวนเสด็จพระราชดำเนินในโอกาสต่าง ๆ
การจัดรูปกระบวนกระทำเช่นเดียวกับพระบยวนยุทธ์ในสมัยโบราณ
ประกอบด้วยกระบวนแห่หน้าหลังอัญเชิญธง เครื่องสูงซึ่งเป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศ
เช่น ฉัตร พัดโบก จามร บังแทรก บังสูรย์ และกลด กระบวนศัสตราวุธ กระบวนช้าง
และกระบวนม้า หากเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางบก เรียกว่า กระบวนพยุหยาตรสถลมารค
ส่วนกระบวนพยุหยาตราชลมารคก็คือการเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ
ประกอบด้วยริ้วกระบวนเรือที่สวยงามตระการตาเป็นพระราชพิธีที่กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
กระบวนพหุยาตราสถลมารค
กระบวนพหุยาตราสถลมารค นั้นเป็นกระบวนที่พระมหากษัตริยืเสด็จพระราชดำเนินไปวัด
เช่น เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท หรือเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้ากฐิน
บางโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครเพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนได้ชื่นชมพระบารมี
ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการเสด็จเลียบพระนคร โดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค 2 ครั้ง คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ
ให้จัดกระบวนแก่เลียบพระนครครั้งหนึ่ง
อีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
กระบวนพหุยาตราชลมาค
กระบวนพหุยาตราชลมาค หมายถึง
ริ้วกระบวนเรือพระราชพิธี
ที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ
ทั้งเป็นกาส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธีซึ่งได้ประกอบการมาแต่โบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว
และสืบทอดต่อมาในสมัยอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ และได้มีมาจนปัจจุบัน แต่เดิม
กระบวนพหุยาตราชลมาคเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเพื่อประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ
ที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
การเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมือง
เข้ามาประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ และการพระบรมศพ
ที่มา :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น